top of page
Above the Clouds

ความหมายศิลปะสากลสมัยใหม่

รูปภาพ1.png
3.png

ศิลปะสากลสมัยใหม่ (Modern Age)

 

          ตั้งแต่ ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้

 

1. ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)

 

   ลัทธิคลาสสิคใหม่มีแนวความคิดและการปฏิบัติอยู่ที่การลอกเลียนศิลปกรรมโบราณแทบทุกอย่าง โดยเฉพาะศิลปะของกรีกโบราณและอียิปต์ ชาก - ลุย เดวิด เป็นผู้นำลัทธินี้และ โอกุสต์ โคมินิกแองเกรส์นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม

      ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่ ชาก ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                     The Oath of Horatii

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                   

 

 

 

 

                                                                      The Death of Marat 
 

 

2. ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)

         

       เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงการแสดงออกที่ทำให้เกิดความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับความศรัทธา ความรัก ความชอบ ความโกรธ ความปิติยินดีเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์ 

         ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ ภาพ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa) วาดโดย ทรีโอเดอร์ เกอริโก้ (Théodore Géricault) และศิลปิน เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดฆ่าของนางรีเบกกา เป็นต้น ส่วนฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น 

 

 

 

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                             การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                           The Nude Maja



3. ศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism)

      ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริงๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด 
     ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน 
     คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม 
     มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ


                                

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Gustave Courbet. The Stone Breakers. 1849. 

Oil on Canvas. Formerly Gemalde galerie, 

Dresden. Deestroyed 1945

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Jean-Francois Millet. The Gleaners. 1857.

 

Oil on Canvas. Louvre Museum, Paris

 

 


4. ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)

     ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ดำเนินมาชั่วระยะหนึ่งได้เริ่มตกต่ำลงเนื่องจากมีเรื่องราวที่ค่อนข้างจัดขอบเขตของมโนภาพ มีแต่ความซ้ำซากไม่มีจุดเร้าใจใหม่ ๆ แนวคิดการสร้างงานออกไปวาดภาพจากของจริงที่ต้องการโดยตรงพยายามจับเอาแสงสีในอากาศให้ได้สภาพของบรรยากาศในขณะนั้นให้ใกล้เคียงที่สุดเพราะแสงและสีเปลี่ยนแปลงทุกนาทีใช้เทคนิคการระบายสีอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน จนเกิดรอยแปรงเนื่องจากต้องการความฉับไวในการจับแสงสีบรรยากาศที่ถูกต้องยึดหลักทฤษฎีอย่างเคร่งครัดเคารพและถือเอาธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่นำเอาความฝัน จินตนาการหรือแม้กระทั่งอารมณ์ส่วนตัวมาปะปนไม่เน้นเรื่องราวที่เขียน จะเขียนรูปอะไรก็ได้ตั้งแต่ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล หรือหมอก ควัน ตลอดจนกระทั่งฝูงชน การละเล่น การแข่งม้า

     ศิลปินในยุคนี้ ได้แก่ มาเนท์ , โคลด โมเนท์ , เรอนัวร์ , เดอกาส์ , โรแดง , รอสโซ
 

 

 

Alfred Sisley, Bridge at Villeneuve-la-Garenne, C 1872, 

New York, Metropolitan Museum of Art. 

 



 

 

 

 

 

 

 


Camille Pissarro, The garden of Pontoise, C 1875 



 

5. ศิลปะนีโออิมเพรสชันนิสม์ (Neo-Impressionism) 

 

     ลักษณะของภาพวาดในลัทธินีโออิมเพรสชันนิสม์ เกิดจาการใช้สีจากแสงสเปกตรัมมาสู่อนุภาค เกิดเทคนิคการระบายสีเป็นสีเป็นจุด ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อทางฟิสิกส์ว่า แสง คือ อนุภาค โดยการระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันเล็กๆด้วยสีสดใส จุดสีเล็กๆ นี้จะผสานกันในสายตาของผู้ชม มากกว่าการผสมสีอันเกิดจากการผสมบนจานสี

    ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ จอร์จส์ เซอราท์ , คามิลล์ พีส์ซาร์โร , พอล ซิบัค

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

petit-dejeune ศิลปิน พอล ซิบัค 

 

 

Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte, 1884-1886 ศิลปิน จอร์จส์ เซอราท์  

 

6. ศิลปะโพสต์อิมเพรสชันนิสม์ (Post-Impressionism)

     เป็นศิลปะที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากลัทธิอิมเพรชชั่นนิสม์และนีโออิมเพรชชั่นนิสม์ โดยยึดทฤษฎีเรื่องสีและแสงอยู่ แต่พัฒนางานให้ดูง่ายขึ้น ละทิ้งส่วนละเอียดต่างๆ เน้นรูปทรงให้เด่นชัดขึ้น แล้วใส่อารมณ์ ความรู้สึก และพื้นฐานจังหวะ (Element of Time) เฉพาะของจิตรกรลงไปด้วย 

     ศิลปินที่สำคัญ ได้แก่ ปอล เซซาน, ฟินเซนต์ แวน ก๊อ , ปอล โกแกง, อองรี เดอ ตูลูส-โลเตรก, กามีย์ ปีซาโร , มาเนต์

 

 

 

 

 

Self-portrait, 1887

Vincent Willem van Gogh ,oil on cardboard, 

42 × 33.7 cm 

 

 

                        

The Starry Night,1889 
Vincent Willem van Gogh , oil on canvas 
73 × 92 cm

 

"อาฟว์นูว์เดอลอเปรา" (Avenue de l'Opéra) โดยกามีย์ ปีซาโร

         

 

 

 

ภาพ Le Déjeuner sur l'herbe 
วาดขึ้นในปีราว ค.ศ.1863 โดยมาเนต์

           

 

 


7. ศิลปะคิวบิสม์ (Cubism) 

 

     ศิลปะคิวบิสม์ หรือ บาศกนิยม (อังกฤษ : Cubism) เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะอาวองการ์ดในศตวรรษที่ 20 ริเริ่มโดยปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) และจอร์จ บราค (Georges Braque) ได้เปลี่ยนรูปโฉมของจิตรกรรมและประติมากรรมสไตล์ยุโรป รวมไปถึงดนตรีและงานเขียนที่เกี่ยวข้อง สาขาแรกของบาศกนิยมเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Analytic Cubism (บาศกนิยมแบบวิเคราะห์) เป็นความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่มีอิทธิพลรุนแรงและมีความสำคัญอย่างมากในฝรั่งเศส แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่นานนักระหว่างค.ศ.1907 และ 1911 ความเคลื่อนไหวในช่วงที่สองนั้นถูกเรียกว่า Synthetic Cubism (บาศกนิยมแบบสังเคราะห์) ได้แพร่กระจายและตื่นตัวจนกระทั่ง ค.ศ.1919 เมื่อความเคลื่อนไหวของลัทธิเหนือความเป็นจริงเป็นที่นิยมศิลปะคิวบิสม์จึงได้ลดความนิยมลงเช่นกัน

     ศิลปินคนสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ พาโบล ปิคาสโซ, จอร์จส์ บราคและเฟอร์นานด์ เลเจร์

 

 

 

 

Les Demoiselles d’ Avignon. 1970. 

ภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบ ของ Pablo Picasso. จิตรกรชาวสเปน 

 

 

 

Houses at L’Estaque L’Estaque, August, 1908 
ภาพวาดสีน้ำมันบนผ้าใบ ของ Georges Braque

 

 

8. ศิลปะเซอเรียลลิสม์ (Surrealism) 
     

     ศิลปะเซอเรียลลิสม์ เป็นงานศิลปกรรมที่เปิดเผยความฝันและจิตใต้สำนึก ขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มต้นราวคริสต์ทศศตวรรษที่ 1920 ซึ่งจะเห็นได้จากจักษุศิลป์และงานประพันธ์ของกลุ่มผู้ติดตาม งานประเภทเหนือความเป็นจริงจะมีองค์ประกอบของความนึกไม่ถึง หรือการจัดองค์ประกอบที่แสดงความขัดแย้ง แต่ศิลปินลัทธิเหนือจริงจะกล่าวถึงงานของตนเองว่าเป็นการแสดงออกทางปรัชญาของขบวนการและงานที่ทำเป็นเพียงสิ่งที่แสดงออกของปรัชญาดังว่า ซึ่งผู้นำลัทธิ คือ อองเดร เบรทอง (André Breton) กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า “ลัทธิเหนือจริง” เหนือกว่าสิ่งใดคือขบวนการปฏิวัติ จาก ลัทธิดาดา (Dadaism) ที่ริเริ่มที่ซูริคในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง “ลัทธิเหนือจริง” ก็เริ่มก่อตั้งขึ้นราวคริสต์ทศศตวรรษที่ 1920 โดยมีศูนย์กลางที่ปารีสและขยายไปทั่วโลก และมีผลต่องานศิลปะหลายแขนงรวมกัน ทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม, วรรณกรรม และภาพยนตร์เช่น “Angel's Egg” และ “El Topo” เป็นต้น

 

     ศิลปินคนสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ ซาวาดอร์ ดาลี (Salvador Dalí) , แม็กซ์ เอินท์ (Max Ernst)

 

 

 

Salvador Dalí. The Persistence of Memory. 1931. 

 

 

 

   

Max Ernst, L'Ange du Foyeur ou le Triomphe du Surréalisme. 1937.
Oil on canvas, 114 x 146 cm. Private collection.

9. ศิลปะแอ็บสแตรก (Abstractionism)  

     ศิลปะแบบแอ็บสแตรก หรือ ศิลปะไร้รูปลักษณ์ เป็นผลงานที่ศิลปินแสดงออกโดยการสกัดรูปทรงจากธรรมชาติให้ง่ายปล่อยให้รูปทรงปรากฏขึ้น ตามลีลาหรือกลวิธีในการแสดงออกบางครั้งก็สร้างรูปทรงให้ปรากฏขึ้นจากความคิดอันเป็นนามธรรม ศิลปินสร้างเส้น รูปทรง สี จากการใช้ญาณวินิจฉัย โดยไม่ต้องพึ่งเส้นรูปทรง สีจากธรรมชาติ การแสดงออกเป็นผลจากพลังจิตใต้สำนึก ตามเส้นทางของจิตวิทยา กลวิธีของการแสดงออก ได้แก่ การใช้สีราด หยด หยอด ใช้แปรงละเลง ระบายอย่างหยาบกร้านการสาดสี เป็นต้น

     ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ แจคสัน พอลลอค, วาสสิลี แคนดินสกี, พีท มองเดรียง

 


 

 

 

No.5, 1948, Jackson Pollock

 

 

“Black Lines”
Wassily Kandinsky

10. ศิลปะดาดา (Dadaism)  

     เป็นลัทธิหรือกระแสความเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศิลปะในลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ลักษณะโดยรวมของกลุ่มดาดานั้นจะมีน้ำหนักไปในแนวทางต่อต้านสังคมและกฎเกณฑ์ความงามของศิลปะแบบเดิม ๆ ซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป กล่าวได้ว่า ดาดาใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการกบฏต่อทุกสิ่งที่เคยมีมาในอดีต

     ชื่อ "ดาดา" นี้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มศิลปินหลายคน อาทิ ตริสตัน ซารา, ฮิวโก้ บอลล์, ริชาร์ด ฮูลเซนเบค, ควร์ท ชวิทเทิร์ส, ฮันส์ อาร์พ โดยพวกเขาใช้มีดพับสอดเข้าไปในพจนานุกรมภาษาเยอรมัน-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นคู่รบกันในสงคราม ผลก็คือพวกเขาสุ่มได้คำว่า "ดาดา" (Dada) เป็นคำสแลงในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ม้าโยก คำนี้จึงกลายเป็นชื่อกลุ่มนับแต่นั้นมา ที่สำคัญ คำว่าดาดานี้ยังสอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของศิลปินกลุ่มนี้ที่พยายามเยาะเย้ยสังคมอย่างสนุกราวกับเป็นเด็กๆ ที่ทำตัวไม่มีสาระและยุ่งเหยิง

      ศิลปินคนสำคัญ มาร์แซล ดูว์ช็อง, ตริสตัน ซารา, ควร์ท ชวิทเทิร์ส (Kurt Schwitters), ฮันส์ อาร์พ (Hans Arp), ราอูล เฮาส์มันน์ (Raoul Hausmann), มักซ์ แอนสท์, ฟร็องซิส ปีกาบียา, แมน เรย์ (Man Ray)

 

 

 

Francis Picabia, 1909, Caotchouc, Oil on canvas

 

 

 

 

 

Immortality,1913-1914. Oil on Wood, 46 x 31 cm.
โดย มักซ์ แอนสท์ 

 

 



11. ศิลปะนาอีฟ (Naïve art)  

     ศิลปะแบบนาอีฟ นำโดย อ็องรี ฌูว์เลียง เฟลิกซ์ รูโซ (ฝรั่งเศส: Henri Julien Félix Rousseau; เกิดวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ.1844- 2 กันยายน ค.ศ. 1910) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีลักษณะการเขียนแบบศิลปะนาอีฟ (Naïve art) และ แบบบรรพกาลนิยม (Primitivism) รูโซเป็นที่รู้จักกันว่า “Le Douanier” (เจ้าหน้าที่ศุลกากร) ตามหน้าที่การงาน ระหว่างที่มีชีวิตอยู่รูโซก็ถูกเย้ยหยัน แต่ต่อมาก็เป็นที่นับถือในการที่เป็นผู้สอนตนเองผู้เป็นอัจฉริยะผู้เขียนภาพที่มีคุณภาพสูง

     ลักษณะการวาดของรูโซที่ดูราบและที่มีลักษณะเหมือนวาดโดยเด็กทำให้ได้รับการวิจารณ์ และมักทำให้ผู้ดูออกจะตกตลึง หรือเย้ยหยันนักวิจารณ์กล่าวว่าแม้ว่าจะมีลักษณะที่ดูง่ายคล้ายการเขียนของเด็กแต่ก็เป็นลักษณะที่แสดงความมีความสามารถสูง (Sophistication)  ในการเขียนลักษณะดังกล่าว

 

 

 

“ยิบซีหลับ” ค.ศ. 1897 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่, 
นครนิวยอร์ก 


 

 

“การต่อสู้ระหว่างเสือกับควาย” ค.ศ. 1908 

 

พิพิธภัณฑ์ศิลปะคลีฟแลนด์, คลีฟแลนด์ 

 

12. ศิลปะป็อบ อาร์ต (Pop Art)  

   ป็อปอาร์ตเป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้ความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ชั่วขณะหนึ่ง เช่น ดารายอดนิยม คุณภาพอันเลอเลิศของสินค้า คำขวัญ ฯลฯ ศิลปะในกลุ่มนี้แสดงความวุ่นวายของสังคมซึ่งพลุ่งพล่าน สว่างวาบขึ้นมาเหมือนพลุ นิยมในช่วงเวลาที่ไม่นานพอถึงวันรุ่งขึ้นก็อาจจะลืมไปเสียแล้ว อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าวเอาไว้ว่า

      ศิลปะที่สร้างขึ้นจากสิ่งสัพเพเหระของชีวิตปัจจุบัน เป็นการแสดงความรู้สึกสะท้อนประสบการณ์ทั้งหมดของศิลปินในชั่วขณะเวลาหนึ่ง และสถานที่แห่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสะท้อนความรู้พื้นฐานธรรมดาที่ศิลปินมีส่วนร่วมอยู่ให้ปรากฏ

     ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ มาร์แซล ดูว์ช็อง, รอย ลิกเทนสไตน์, แอนดี วอร์ฮอล, แคลส โอลเดนเบิร์ก, เจมส์ โรเซนควิสต์, ทอม เวสเซลมันน์, Eduardo Paolozzi , ริชาร์ด แฮมิลตัน , เรย์ จอห์นสัน, เดริก โบเชียร์, เดวิด ฮ็อกนีย์, ปีเตอร์ เบลก, แอลลัน ดาร์แคนเจโล, รอเบิร์ต อินดีแอนา

 

 

 

 

Green Marilyn C.1964 โดยแอนดี วอร์ฮอล

 

 

 

 

 

 

รอย ลิชเชนสไตน์ : (In The Car) ในรถยนต์. 
สีแมคนา, กรุงเอเดนสเบิร์ก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แอนดี้ วอร์ฮอล : มาริลีน มอนโร. สกรีน, กรุงนิวยอร์ค, อเมริกา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เจมส์ โรเซนควิสต์ : ภาพการคัดเลือกประธานาธิบดี (President Elect) 


 


13. ศิลปะอ็อป อาร์ต (Op Art)  

     ศิลปะแบบ อ็อพ อาร์ต (Op Art) เริ่มต้นตั้งแต่ค.ศ. 1960 เป็นศิลปะลวงตาเป็นวิธีการเขียนที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลวงตาและพื้นผิวของภาพ ระหว่างความเข้าใจและการมองเห็น จะเด่นมากในการสร้างภาพนามธรรมที่เน้นรูปทรงเรขาคณิต ที่มีขอบและเส้นรอบนอกที่คมชัด ทิศทางของรูปทรงและเส้นรอบนอกมักจะหักเห ยักเยื้อง ทำให้ตาของเราเห็นว่ามันเคลื่อนไหววูบวาบ โดยเฉพาะเมื่อเราจ้องมองมันนิ่งๆ สักพัก แล้วเหลือบสายตาให้เคลื่อนไปจากเดิมเล็กน้อย รูปทรงและเส้นที่ศิลปินวางไว้อย่างเหมาะเจาะจะทำปฏิกริยากับการมอง ทำให้เห็นว่ามันเคลื่อนไหววูบวาบนิดๆ หรือในบางกรณีรูปทรงที่จิตรกรสร้างขึ้นจะดูนูนสูงขึ้น เว้าต่ำลงหรือปูดออกอย่างสมจริง ทั้งๆ ที่มันเป็นภาพแบนๆ เท่านั้น

     ลักษณะเด่นอีกสองประการก็คือ ภาพเขียนเหล่านี้มักจะดูเนี้ยบเป็นระเบียบ ราวกับถูกผลิตด้วยเครื่องจักร ไม่ใช่งานฝีมือมนุษย์ แสดงถึงความสมัยใหม่ ทำให้นึกไปถึงอะไรที่เป็นอุตสาหกรรม เป็นบุคลิกของเมืองใหญ่ จุดสำคัญที่สุดของภาพแบบนี้คือ เป็นภาพที่มีผลต่อการมอง ทำให้เกิดการลวงตา

      ชื่อ อ็อพ อาร์ต (เป็นที่นิยมในยุโรปและสหรัฐฯ) เป็นชื่อที่ย่อมาจากคำว่า อ็อพติเคิล อาร์ต (Optical Art) บางทีก็มีการเรียกว่า เรทินัล อาร์ต (Retinal Art) หรือ เพอร์เซ็ปชวล แอ็บสแตรคชัน (Perceptual Abstraction) หรือศิลปะที่เกี่ยวกับสายตาและการมองนั่นเอง

 

 

 

Victor Vasarely,Outdo

or Vasarely artwork 
at the museum in Pécs

 

 

 

 

Bridget Louise Riley, Cataract 3, 1967.

 

 

      สรุปแล้ว งานศิลปะสมัยใหม่ เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคน เน้นความ เป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมี มากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิด เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็แสดงภาวะทางจิตของศิลปิน และกลุ่มชน บ้างก็แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆรวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้าง สรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่ รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับ ความนิยม และสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

4.png
5.png
7.png
8.png
9.png
11.png
12.png
14.png
16.png
17.png
19.png
20.png
22.png
23.png
24.png
25.png
26.png
27.png
28.png
29.png
3577.png
35.png
A.png
B.png
C.png
D.png
F.png
E.png

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนออนไลน์

Welcome To Learn Art Online By KruNUENG

  • Grey Facebook Icon
  • Grey YouTube Icon
  • Grey Instagram Icon

CRPAO SCHOOL

bottom of page