top of page

ศ22101 ศิลปะ3

วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างงานศิลปิน

MATERIALS IN ART

       นอกเหนือจากแปรง พู่กันและสีแล้ว ยังมีผลงานศิลปะหลายชิ้นที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวัสดุอื่นๆที่เราคาดไม่ถึง
​ลองสังเกตวัสดุเหล่านี้และจินตนาการดูสิว่าหากเราต้องสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสักชิ้นจากวัสดุเหล่านี้ จะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง!  ร่วมเรียนรู้วัสดุที่ปรากฏในผลงานศิลปะของคลังสะสมมหาวิทยาลัยศิลปากร จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติและการแสดงศิลปกรรมรวมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์
 
Apart from color and brushes, there are many materials used in making art!
Observe these materials and imagine if you are going to make an artwork by using them. How would it be?
Take a look at how the artists used these materials in their artworks.
All of the artworks are award –winning from the National Exhibition of Art and the Exhibition of Contemporary Art by Young Artists which are in the Art Collections by Silpakorn University.

          

          
  วัสดุอุปกรณ์จิตรกรรมสีน้ำ 
1.กระดาษ (Paper) โดยทั่วไปกระดาษสำหรับสีน้ำจะมีพื้นผิวแตกต่างกัน ทั้งพื้นผิวหยาบและพื้นผิวเรียบ
2.ดินสอ (Pencil) และยางลบ (Eraser) ดินสอควรจะใช้เกรดอ่อนๆ
3.สีน้ำ (Watercolour) สีน้ำทั่วไปมี 2 เกรด คือ สำหรับนักเรียน และสำหรับศิลปิน สีน้ำจะมีบรรจุภัณฑ์ให้เลือกตามความเหมาะสม 3 ลักษณะ คือ
    1.แบบหลอด เป็นที่นิยมกันทั่วไป สีจะมีความชื้นและความแตกตัวได้ดี
    2.แบบบรรจุเสร็จในจานสีแบบเป็นก้องแข็ง เหมาะสำหรับการพกติดตัวไปเขียนนอกสถานที่
    3.แบบขวด มีลักษณะเป็นโปร่งใส
    4.จานสี (Plate)
    5.พู่กัน (Brush) พู่กันที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่ป้ายแล้วมีจังหวะสปริงตัวเล็กน้อย โดยพู่กันมี 2 ลักษณะ คือ             พู่กันชนิดกลม และพู่กันชนิดแบน
    6.ฟองน้ำ (Sponge) เป็นส่วนช่วยในการทาน้ำบนกระดาษที่ได้ผลเร็ว และใช้ในการซับสีที่ไม่ต้องการออก
    7.ผ้าเช็ดพู่กัน (Clothes)
    8.ภาชนะใส่น้ำ (Vessel)
    9.กระดาษสเกตซ์และตัวหนีบ (Board and Clip) กระดาษสเกตซ์จะทำด้วยไม้อัดแผ่นเรียบหรือกระดาษ            หนาแข็ง
    10.ขาตั้งเขียนภาพและเก้าอี้นั่ง (Easel and Chari)

          

    วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนภาพ
วัสดุอุปกรณ์ในการเขียนภาพในระดับนักเรียนมัธยมที่จำเป็น มีดังนี้
1.  กระดาษเขียนภาพ  เป็นวัสดุสำคัญที่ใช้รองรับร่องรอยจากสิ่งที่เราวาดเส้น ระบายสี ได้แก่
    1.1  กระดาษปรู๊ฟ (NEW PRINT PAPER)  หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ มีเนื้อกระดาษบางไม่คงทน ถ้าเก็บไว้นาน           เนื้อกระดาษจะกรอบและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาล
    1.2  กระดาษวาดเขียน (WATER COLOUR PAPER)  มีลักษณะผิวกระดาษด้านหนึ่งเรียบและอีกด้านหนึ่ง                    หยาบ  เนื้อกระดาษสีขาว  ความหนาของกระดาษเรียกกันเป็นปอนด์ ที่นิยมใช้กันตามโรงเรียนมี                      ความหนา 60, 80, 100 ปอนด์
    1.3  กระดาษอาร์ต (ARTS PAPER)  เป็นกระดาษเนื้อแน่น มีทั้งผิวเรียบมันและผิวด้าน เช่น กระดาษที่นำมาทำ            ปกหนังสือพ็อกเก็ตบุค ปกวีซีดีภาพยนตร์ เป็นต้น
    1.4  กระดาษเขียนสีชอล์ก (PASTEL PAPER)  เป็นกระดาษที่มีลักษณะผิวหยาบ รอยพรุนของผิวกระดาษจะ              ช่วยให้สียึดติดกระดาษได้ดี

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนภาพสีน้ำมัน

     1.สีน้ำมัน (Oil color) ได้จากการนำผงสี มาผสมกับขี้ผึ้ง (beeswax) และน้ำมันที่สกัดจากพืช อาทิ safflower oil, popyseed oil, soybean oil เป็นต้น ปัจจุบันเราสามารถซื้อ สีน้ำมัน ที่บรรจุหลอดมาใช้ได้เลย ตัว สีน้ำมัน เองคือวัสดุหลักในการให้รูปทรง แสงเงา สีสันในการแสดงออกบนแผ่นระนาบรองรับ

      2.ตัวทำละลาย สีน้ำมันสามารถละลายได้ในน้ำมันหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ชนิดคือ
         2.1 น้ำมันลินสีด (linseed oil) สกัดจากเมล็ดต้นแฟล็คซ์ (flax) ต้นไม้ที่เอาเส้นใย มาทำผ้าลินิน คุณสมบัติของน้ำมันลินสีด จะทำให้สีลื่นระบายได้ง่าย เมื่อแห้งแล้วจะมีลักษณะเป็นฟิล์มบาง ๆ เคลือบผิวภาพ ทำให้ภาพสีน้ำมันมีลักษณะมันเงาและทนทานมากขึ้น และยังเป็นตัวทำละลายที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก แต่ถ้าผ่านระยะเวลายาวนาน ลินสีดจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพจากเคลือบใส กลายเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาลไหม้ในที่สุด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันลินสีด
         2.2 น้ำมันสน (Terpentine) เป็นตัวทำละลายชนิดแรง ไม่นิยมนำมาใช้ผสมกับสีน้ำมันโดยตรง แต่จะนำมาใช้ล้างพู่กัน หรือผสมร่วมกับน้ำมันลินสีดเพื่อให้มีความหนืดน้อยลง และแห้งเร็วขึ้น 2.3 ลิควิน (Liquin Medium) เป็นตัวทำละลายที่ใช้สำหรับผสมกับสีน้ำมันเพื่อให้สีไม่เหนียวหนืด ทำให้ระบายง่าย เหมาะที่จะใช้ในการสร้างรายละเอียดของภาพ การเกลี่ยสี และสามารถผสมให้สีน้ำมันมีลักษณะบางใสขึ้นเพื่อใช้ในการวาดแบบโปรงใสได้ด้วย คุณสมบัติเด่นอีกข้อหนึ่งของลิควินก็คือ ช่วยให้สีแห้งเร็ว 3. พู่กัน (Brush) พู่กันสำหรับระบายสีน้ำมันจะมีลักษณะขนที่แข็งกว่าพู่กันสีน้ำ เนื่องจากสีน้ำมัน มีคุณสมบัติหนืดเหนียว จำเป็นจะต้องใช้แรงสปริงของขนพู่กันในการระบาย อีกทั้งน้ำมันสนและน้ำมันลินสีดจะกัดขนพู่กันให้เสียหายได้ง่าย จึงควรเลือกใช้พู่กันให้ถูกต้อง

     3.พู่กันสีน้ำมัน โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
          3.1 พู่กันขนแบน ใช้สำหรับระบายพื้นที่กว้าง ๆ แบน ๆ สีที่ระบายลงไปจะมีลักษณะแบนเรียบ
          3.2 พู่กันขนกลม ใช้ระบายรายละเอียดต่าง ๆ และในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ สีที่ระบายลงไปจะมีลักษณะผิวไม่เรียบมากนัก พู่กันกลมมักจะถูกนำมาใช้มากในการเกลี่ยสีให้กลมกลืนกัน
          3.3 พู่กันขนพิเศษ เช่น พู่กันรูปพัด พู่กันปลายแตก ฯลฯ ใช้ระบายให้เกิดลักษณะผิวที่แตกต่างจากปกติ
     
      4. แผ่นระนาบรองรับ (Canvas) แผ่นระนาบรองรับหมายถึงพื้นที่ ๆ เรานำสีหรือวัสดุวาดลงไปให้เกิดร่องรอยเป็นผลงานศิลปะขึ้น ในการทำงานศิลปะนั้น อันที่จริงเราไม่สามารถจำกัดแผ่นระนาบรองรับได้ เพราะศิลปินมีอิสระในการนำเสนอผลงานของตนผ่านกระบวนการทางศิลปะบนระนาบรองรับใด ๆ ก็ได้ แต่แผ่นระนาบรองรับที่ทำจากผ้าใบขึงตึงที่เราเรียกกันว่า แคนวาส (Canvas) กลับเป็นที่นิยมมากที่สุด ในอดีตเมื่อศิลปินออกไปวาดภาพยังสถานที่ต่าง ๆ จะนำผ้าใบม้วนรวมกันไป แล้วมีโครงไม้สี่เหลี่ยมที่เรียกกันว่าสะดึง ติดไปเพียงอันเดียว เมื่อไปถึงสถานที่ ๆ กำหนดแล้ว ศิลปิน จะนำผ้าใบมาขึงเข้ากับโครงไม้แล้ววาดภาพ เมื่อวาดเสร็จและผลงานแห้งดีแล้ว ศิลปินก็สามารถเลาะภาพวาดม้วนเก็บอย่างเดิมได้
     
      5. จานผสมสี (Plate) ควรมีขนาดพอเหมาะกับขนาดผลงานที่วาด เช่นหากวาดภาพใหญ่ พื้นที่ของจานผสมสีก็ควรจะใหญ่ เพื่อให้มีที่สำหรับผสมสีอย่างเพียงพอ

      6. ขาหยั่ง ขาหยั่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การวาดภาพสะดวกสบายขึ้น หากไม่ใช้ขาหยั่ง ผู้วาดภาพอาจใช้วัสดุอื่นรองรับแคนวาสแทนก็ได้

      7. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ผ้าเช็ดสี กระดาษทิชชู ผงซักฟอกหรือแชมพู (สำหรับล้างพู่กันเมื่อเลิกใช้งาน)

สื่อวิดีโอจาก youtube

bottom of page