top of page
Marble Surface

ความหมายประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย

ศิลปะของไทยมีมาตั้งแต่โบราณสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่… จิตรกรรมไทย , ประติมากรรมไทย และ สถาปัตยกรรมไทย วันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับศิลปะของไทยเหล่านี้ให้ดีขึ้นกัน…

จิตรกรรมไทย

คือ ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ โดยมี ‘ลายไทย’ เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทย รวมทั้งยังใช้ในการตกแต่งอาคาร และสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งนำรูปร่างจากธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกนก , ลายกระจัง, ลายประจำยาม เป็นต้น รวมทั้งยังสร้างสรรค์มาจากความเชื่อ เช่น รูปเทวดา , รูปลิง , รูปยักษ์ เป็นต้น สำหรับวิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย สามารถออก 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่…

1.    1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

มีความประณีตสวยงาม แสดงถึงความเป็นไทย นิยมขีดเขียนบนฝาผนังภายในอาคารและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา , วรรณคดี ตลอดจนวิถีชีวิตชาวไทย ใช้สีค่อนข้างสดใส และตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ

2.    จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย

เป็นการผสมผสานความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของศิลปินในยุคต่อๆ หากแต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเต็มไปด้วยคุณค่า

ประติมากรรมไทย

อีกหนึ่งวิธีการสร้างผลงานศิลปะ ซึ่งใช้วิธี ปั้น , แกะสลัก , หล่อ ด้วยการประกอบผสมผสานให้กลายเป็นรูปทรง 3 มิติ ที่แบบอย่างของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างจะประกอบด้วย ดิน , ปูน , หิน , อิฐ , ไม้ , งาช้าง และอื่นๆมากมาย โดยผลงานประติมากรรมของไทย มีทั้งแบบนูนต่ำ , นูนสูง และลอยตัว สามารถแบ่งออกเป็นยุคได้ดังนี้…

ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16

พระพุทธรูปสมัยทวาราวดี มีเอกลักษณ์ คือ พระเกตุมาลามีลักษณะต่อมนูน สั้น พระพักตร์ แบนกว้าง พระหัตถ์และพระบาทใหญ่

ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 – 18

พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะโดดเด่น คือ พระวรกายแลดูอิ่ม พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน

ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 – 18

พระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นทรง 4 เหลี่ยม พระกรรณยืดลงมา รวมทั้งต้องมีกุณฑลประดับอยู่ด้วยเสมอ

ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 – 21

พระพุทธรูปศิลปะล้านนา มีชื่อเรียกว่าพระพุทธรูปแบบเชียงแสน มีพระวรกายปูม , พระพักตร์อิ่มเอิบ , ดอกบัวตูม , ปราศจากไรพระศก และท่านั่งขัดสมาธิเพชร

ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 17 – 20

นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยนี้ยังมีความโดดเด่นทางด้านงานประติมากรรม ‘เครื่องสังคโลก’ ที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ เขียนทับด้วยลวดลายต่างๆ

ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 – 20

ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป มีพระวรกายแลดูสง่า , พระพักตร์ตึง , พระเกตุมาลามีทรงแบบฝาชี

ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 – 24

ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยานั้น ไม่ค่อยมีความโดดเด่นเสียเท่าไหร่นัก โดยจะเป็นการหยิบจับนำมาผสมผสานกับศิลปะในรูปแบบอื่นๆ เช่น มีร่างกายคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอู่ทอง , พระเกตุมาลาเป็นหยักแบบเปลวเพลิง , พระขนงโก่งแบบสุโขทัย เป็นต้น

ศิลปะรัตนโกสินทร์พุทธศตวรรษที่ 25 – ปัจจุบัน

เมื่อมาถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ จึงมีการนำเอาแบบอย่างของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย จนกลายมาเป็นงานศิลปะไทยร่วมสมัยในที่สุด

สถาปัตยกรรมไทย

เอกลักษณ์การก่อสร้างของไทย ได้แก่ บ้าน , อาคาร , โบสถ์ , วัง และอื่นๆ ที่ซึ่งการก่อสร้างอาคารแลบ้านในแต่ละท้องถิ่น ก็จะมีแตกต่างกันไปบ้าง ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น หากแต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญอันเด่นชัด คือ เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเพื่อรับลม และยกใต้ถุนสูงเพื่อหนีน้ำท่วม เป็นต้น

สำหรับสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา จะอยู่ภายใจ วัด ซึ่งประกอบไปด้วย โบสถ์ , กุ้น , หอไตร , หอระฆังและหอกลอง , สถูป และเจดีย์

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนออนไลน์

  • Grey Facebook Icon
  • Grey YouTube Icon
  • Grey Instagram Icon

Welcome To Learn Art Online By KruNUENG

CRPAO SCHOOL

bottom of page