top of page

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนออนไลน์

รายวิชา ศิลปะ 4

Welcome To Learn Art Online By KruNUENG

อิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีผลต่องานทัศนศิลป์

การออกแบบงานทัศนศิลป์หรือ "ศิลปะที่มองเห็น" ในวัฒนธรรมสากล ภายใต้แนวคิด ปรัชญา การศึกษา และสภาพแวดล้อมของศิลปะนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก มีการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีวิวัฒนาการตามสภาพสังคม และความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการศึกษางานออกแบบทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล สามารถแบ่งงานออกเป็น ๒ รูปแบบ ได้แก่ การออกแบบงานวิจิตรศิลป์(Fine art) และการออกแบบงานประยุกต์ศิลป์ (Applied art)

pic8.png


          งานวิจิตรศิลป์ในศิลปะตะวันตกที่สะท้อนความเชื่อและวิถีชีวิตใน
วัฒ
นธรรมสากล ทางด้านคุณค่าเกี่ยวกับความงามและจิตใจนั้น สามารถแบ่งตามลัทธิการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา ดังนี้
          ๑.  ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ : อารมณ์และความประทับใจ
          ศิลปะตะวันตกในยุคก่อนศิลปะสมัยใหม่นิยมสร้างสรรค์งานแบบเหมือนจริงหรือสัจนิยม(Realism) ต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นลัทธิโรแมนติก (Romanticism) โดยเน้นการแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น จนในที่สุดก็มีศิลปินที่หลุดพ้นจากแนวคิดวัฒนธรรมและวิธีการดั้งเดิม มาสร้างกระแสของการเปลี่ยนแปลง ศิลปินผู้นั้นคือ “โมเน่ท์” (Clade Monet) ผู้มุ่งใช้อารมณ์และความรู้สึกสร้างรอยประทับใจลงบนผืนผ้าใบ เน้นการใช้สีและแสงอย่างอิสระ ตามความรู้สึกของศิลปินในขณะที่วาดภาพทิวทัศน์ ภายใต้บรรยากาศขณะนั้น
      โมเน่ท์ได้ชมภาพพิมพ์แกะไม้ของ “ไฮกุไซ” ซึ่งเป็นศิลปินชาวญี่ปุ่น สร้างสรรค์ภาพผู้คนบนระเบียงบ้าน มองออกไปเห็นบรรยากาศอันเวิ้งว้างของท้องฟ้า โดยมีภูเขาไฟฟูจิอยู่เบื้องหน้าจนเกิดแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดธรรมชาติอันสดสวย โดยวาดภาพสีน้ำมัน[1] ซึ่ง “ระเบียงที่เซนต์ โอเดรส เมื่องปี ค.ศ. ๑๘๒๗

  • Grey Facebook Icon
  • Grey YouTube Icon
  • Grey Instagram Icon

CRPAO SCHOOL

bottom of page