top of page

ศ 21201 ศิลปะ 3

แนวคิดงานทัศนศิลป์

1.ถ่ายทอดเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานทัศนศิลป์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิด ความรู้สึก และความประทับใจในแง่มุมต่างๆ อันเป็นเหตุผลให้เกิดรูปแบบและวิธีการในการถ่ายทอดเป็นผลงานทัศนศิลป์ ซึ่งเกิดจากเหตุผลหลักๆดังนี้

ชื่อผลงาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
เทคนิค สีน้ำบนกระดาษ
ผลงานของเกริกบุระ ยมนาค
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรัก ความจงรักภักดี และความศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

7.jpg

2. แรงบันดาลใจเช่น
เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชาติ ศาสนา เทพเจ้า กษัตริย์ เป็นต้น แล้วเกิดความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานาศิลปะเพื่ออุทิศถวายในสิ่งที่ตนเคารพบูชา รูปแบบในการถ่ายทอดอาจเป็นผลงานที่เหนือจากความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากจินตนาการหรือความเชื่อในแบบอุดมคติ

ชื่อผลงาน ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
เทคนิค สีน้ำบนกระดาษ
ผลงานของเกริกบุระ ยมนาค
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรัก ความจงรักภักดี และความศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

8.jpg

3.สัญลักษณ์หรือสิ่งแทน
เกิดจากความต้องการสื่อสารเพื่อให้ผู้ชมผลงานได้เข้าใจในความหมายที่ต้องการสื่อ เป็นการเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย โดยมีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือสิ่งแทน
เช่น

ชื่อผลงาน การล่าสัตว์ปีก
เทคนิค จิตรกรรมปูนเปียก
ผลงาน จิตรกรรม
สื่อความหมาย
เป็นผลงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะอียิปต์ มีลักษณะการแสดงออกทางสัญลักษณ์สื่อสิ่งแทน เพื่อแสดงความสำคัญของฐานะบุคคล ด้วยขนาด สัดส่วน เช่น ภาพยนตร์หรือฟาโรห์จะมขนาดใหญ่ทีสุด

11.jpg

วิธีการถ่ายทอดแนวคิดในงานทัศนศิลป์
การถ่ายทอดแนวคิดในงานทัศนศิลป์สามารถทำได้ ดังนี้
1.การใช้ผังความคิดหรือผังมโนทัศน์ เป็นกระบวนการคิดวิธีหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นภาพรวมของความคิดในการ
สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่าง เช่น

untitled-1.jpg

จากผังความคิดได้แสดงประเด็นหัวข้อที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่า ควรจะเลือกปฏิบัติการสร้างสรรค์
งานประเภทใด เช่น งานเขียนภาพ งานปั้น–แกะสลัก งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ เป็นต้น เป็นการสื่อหรือถ่ายทอดให้ทราบและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ลักษณะการถ่ายทอดแนวคิดในงานทัศนศิลป์

1.การถ่ายทอดงานจิตรกรรม (Painting)

จิตรกรรม ตามพจนานุกรม อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ   ด้วยการวาด ระบายสี การลาก  ป้าย  ขีด หรือขูดวัสดุลงบนพื้นระนาบซึ่งจำแนกได้ตามลักษณะวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ได้เป็น  2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน

     ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียกว่า จิตรกร

2.ถ่ายทอดงานประติมากรรม (Sculpture)
ประติมากรรมเป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น  แกะสลัก  หล่อ  และการจัดองค์ประกอบความงามและความรู้สึกนึกคิดเป็นรูปทรง 3 มิติ ลงบนสื่อต่างๆ  ผู้ทำงานประติมากรรมเรียกว่า  ประติมากร  ส่วนงานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก

2.1.ประติมากรรมนูนต่ำ  (Bas Relief)

หมายถึง การปั้นบนฐานรองรับให้เกิดรูปทรงนูนขึ้นจากฐานรองเพียงเล็กน้อยมองเห็นด้านหน้าเพียงด้านเดียวด้านข้างมีส่วนหนาขึ้นเล็กน้อยเช่น เหรียญบาท

2.2.  ประติมากรรมนูนสูง  (High Relief)

หมายถึง การปั้นบนพื้นหรือฐานรองรับ ให้เกิดรูปนูนสูงขึ้นมากกว่าแบบนูนต่ำ  โดยสูงขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว สามารถมองเห็นได้สองด้าน คือด้านหน้าและด้านข้าง

2.3.  ประติมากรรมลอยตัว  (Round Relief)

หมายถึง การปั้นลอยตัวแบบ 3 มิติมองเห็นทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง มองเห็นได้รอบตัว ไม่มีพื้นหลัง มีฐานรองรับรูปทรงให้ตั้งอยู่ได้

สื่อวิดีโอจาก youtube

บทเรียนจาก Pdf

bottom of page