top of page

ศ 31215 วาดเส้น 1

ความหมายของการวาดเส้น

       วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพเพื่อสื่อความหมายทางการมองเห็นรูปร่างของวัคถุ สิ่งของ บรรยาการศ และการเกิดมิติของภาพในขั้นเริ่มแรก คือ ปัจจัยขั้นพื้นฐาน ซึ่งเราต้องการแสดงออกหรือนำเสนอ ในบางอย่างที่เป็นรูปแบบของเราออกมา หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์ให้ผู้อื่นรับรู้จากภาพของผู้วาด และรูปภาพธรรมชาติ ฯลฯ

      วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง ศิลปะไทย ลายรดน้ำ เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมา จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน และเมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่างๆ ง่ายขึ้น

เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอปากกาและหมึกเครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติกหนังผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาวหรือบนอะไรก็ได้

       ผลงานของการวาดเส้น จะให้ความรู้สึกต่างๆมากมาย ตั้งแต่พื้นฐานง่ายๆจนถึงเนื้อหาที่ซับซ้อนจะเห็นได้ว่า การวาดเส้น เป็นพื้นฐานหลักในการถ่ายทอด ความคิด ออกเป็น รูปร่าง รูปภาพ ไม่เพียงแต่ผู้ที่เรียนทางด้านศิลปะ ออกแบบ ผู้สนใจทั่วไป แม้นแต่มนุษย์ยุดโบราณก็ยัง ขีดเขียนเป็นภาพสะท้อนเรื่องราวต่างๆ บนเพดาน หรือผนังถ้ำ เป็นการแสดงให้เห็นถึง สติปัญญา ความสามารถของทักษะฝีมือ และวิธีการถ่ายทอดที่เป็นคุณสมบัติส่วนหนึ่งของมนุษย์ บางคนอาจวาดเส้นถ่ายทอดได้ดี บางคนอาจมีปัญหา แต่การฝึกฝนอย่างมีหลักการก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดทักษะฝีมือ

        

เอกสารประกอบการเรียน ดาวน์โหลดได้

ที่มาของศิลปะวาดเส้น

ประวัติการวาดเส้น

        มนุษย์ได้สร้างสิ่งต่างๆมากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และก็สร้างกันต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดนิ่ง ในยุดแรกของมนุษย์สิ่งที่สร้างก็เพื่อการดำรงชีพ หาอาหาร ต่อสู้กับสัตว์ ภัยธรรมชาติ  และต่อสู้กับระหว่างเผ่าพันธุ์ ทุกอย่างต่อเนื่องปรับเปลี่ยนและมีวิวัฒนาการ บางอย่างก็ทิ้งร่องรอยของผลงานเอาไว้ ให้ศึกษาเป็นข้อมูลเรื่องราวต่างๆ การจะหาคำตอบถึงสาเหตุ และข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ก็คงจะหาคำตอบที่ชัดเจนได้ยาก แต่ก็มีข้อเท็จจริงบางส่วนตามที่นักโบราณคดีได้ศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานเอาไว้ ซึ้งเป็นวิชาการแขนงเดียวที่ให้คำตอบที่ใกล้เคียงมากที่สุดในทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้

 

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (15,000 B.C.) 

        ผลงานของมนุษย์ยุคนี้ที่ปรากฏให้เห็น นอกจากจะให้ข้อมูลที่สำคัญทางโบราณคดียังสะท้อนให้เห็นถึง คุณค่าทางทักษะฝีมือมานานนับหมื่นปีนักโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า ผลงานของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการวาดหรือศิลปะ เกิดในบริเวณทวีปริกา แล้วโยกย้ายที่ทำมาหากินไปตามที่ต่างๆ บางกลุ่มขึ้นทางเหนือผ่านทะเลทรายซาฮาร่า ข้ามทะเลเมติเตอร์เรเนียนไปถึงยุโรป เพราะพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดีจะเป็นที่ยอมรับกันว่า มนุษย์พวกแรกที่ถือว่ามีฝีมือทางช่างศิลป์ คือ พวก โคร-มันยอง (Cro-magnon) มนุษย์พวกนี้รู้จักหลบอากาศหนาวเย็นเข้าอาศัยอยู่ในถ้ำ รู้จักเขียนภาพต่างๆโดยเฉพาะจากประสบการณ์ที่รับรู้มา รู้จักสร้างสรรค์ สร้างและประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ใช้สอย และ ล่าสัตว์

ภาพวาดบนผนังในถ้ำ Lascaux ในประเทศฝรั่งเศส

2. ผลงานวาดเส้นของอียิปต์ (4000-2280 B.C.) 

            เป็นอีกยุกต์หนึ่ง ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด และ มีประวัติความเชื่อแนวทางในการสร้างสรรค์งาน ซึ่งเป็นชนชาติที่สร้างอารยะธรรมของลุ่มแม่น้ำไนล์ อยู่ทางตอนใต้ของทะเลเมติเตอร์เรเนียน อียิปต์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แล้วค่อยๆเสื่อมลงต่อมาก็เสียเอกราชให้กับเปอร์เซีย ประมาณ 525 ปี ก่อน ค.ศ.

 

        ชาวอียิปต์ มีความเชื่อซึ่งมีอิทธิพลในการสร้างผลงาน คือ

            1. เชื่อว่าชีวิตในโลกหน้ามีจริง และมีความสำคัญ

            2. เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วย ร่างกายและวิญญาณ

            3. เชื่อว่าฟาโรห์คือพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ที่ให้ คุณและโทษ

            4. เชื่อว่าการแสดงออกตามมุมมองที่เหมาะสม ให้เข้าใจง่ายเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างงานศิลปะ

            5. เชื่อว่า หลักการ กฎเกณฑ์ ทางศิลปะเป็นสิ่งดี ต้องเคารพ

 

        จากความเชื่อดังกล่าว จึงมีผลทำให้ชาวอียิปต์ สร้างผลงานที่มีความคงทนอยู่จนถึงปจัจุบันนี้ เช่น สร้างปิรามิด เป็นผลงานสถาปัตยกรรมปิดตาย ที่มีความแข็งแรง ทนทาน เพื่อรักษาร่างศพของฟาโรห์ไว้ เพื่อจะกลับมามีชีวิตใหม่อีกตามความเชื่อ โดยมีภาพเขียนตามผนังห้องเก็บศพ ห้องประวัติฯ ห้องสมบัติ เป็นภาพช่วยเตือนความทรงจำเมื่อฟื้นคืนร่าง

ภาพวาดเส้นจากผนังของ Sennofer (Thebes.XVIII Dynasty)

3. การวาดเส้นในสมัย กรีก และโรมัน  

         ถือเป็นมารดาของอารยะธรรมตะวันตกเกือบทุกแขนง  แนวปรัชญาของสำนักต่างๆ มีความเจริญมาก  ทำให้เกิดแนวทาง ทางความคิดมาก  และสำนักคิดเหล่านั้นพิจารณาปัญหาเหตุผลต่างกัน  สำหรับทางด้านศิลปะและการวาดเส้นนั้น  ศิลปินกรีกถือกันว่า  เป็นผลของความพยายามของมนุษย์ ที่ถ่ายทอดเลียนแบบธรรมชาติ  (Art is the imitation of nature.)  โดยมุ่งที่จะแสดงให้เห็นในความเชื่อเด่นๆ ของสังคมสองประการ  คือ  ความชัดเจน และความบริสุทธิ์  (Clarity and purity) 

   รูปคนหรือการถ่ายทอดคน  ถือเป็นรูปแบบอันสำคัญของการวาดเส้น  โดยศิลปินกรีกพยายามที่จะใช้ความสมบรูณ์ และ ความงามของคนเป็นแบบ  ถ่ายทอดเทพเจ้าตามที่คนมีความเชื่อ  เทพเจ้าอะพอลโล ก็ดี  หรือ เทพเจ้าวีนัสก็ดี  ต่างก็ได้แบบอย่างจากเรือนร่างอันสมบรูณ์ของมนุษย์ผู้เต็มใจเป็นหุ่นให้  และแนวคิดที่ยอมเป็นหุ่นนี้ให้อิทธิพลสืบต่อมาจนถึงสมัยฟื้นฟูและในสมัยหลังๆ บ้างเหมือนกัน

   ศิลปินกรีก มีความชำนาญในการถ่ายทอดบนผนังโค้งของไห  ด้วยการออกแบบผสมกับรูปทรงเรขาคณิตเป็นแบบต่างๆ งดงาม  บนพื้นที่จำกัด  และรู้จักใช้น้ำยาเคลือบตกแต่งด้วยสีอิฐ และสีดำ  โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับขนบประเพณีและนักรบ  ศิลปินนอกจากจะแสดงความชัดเจนแล้ว  ยังแฝงจินตนาการของตนเองไว้ในภาพเขียนอีกด้วย  และ ในสมัยหลังๆ จินตนาการมีส่วนให้อิทธิพลต่อการวาดเขียนมาก  จนกลายเป็นการออกแบบตกแต่ง

ไหเครื่องปั้นดินเผาเขียนลาย ของกรีก อายุประมาณ 700-680 ปี ก่อน ค.ศ.

4. การวาดเส้นในสมัยกลาง   

        เมื่ออาณาจักรโรมันแบ่งงออกเป็นสองส่วน  และ ช่วงเวลานั้นจนถึงสมัยฟื้นฟู  ราวศตวรรษที่  14  เป็นช่วงเวลา ของคริศต์ศาสนา และ ระยะเวลาของการแสวงหาแนวการเขียนระยะนี้แทนที่ลักษณะแบบอย่างของการวาดเส้น ตามแนวกรีก และโรมันที่เกี่ยวกับเทพนิยายจะมีอิทธิพล  ศิลปินในระยะนี้ได้พยายามแสดงเรื่องราวของศาสนา  จนทำให้การวาดเส้นมีลักษณะเด่นไปทางสัญลักษณ์  หรือ เป็นการออกแบบตามแนวสัญลักษณ์มากขึ้น ส่วนในทางตอนเหนือของยุโรปในช่วงเวลานี้  ศิลปินได้สร้างสรรค์ภาพประกอบคัมภีร์ เป็นเรื่องราวของศาสนา  และ มีตัวหนังสือประกอบด้วยทำให้รูปแบบของการวาดเส้นเน้นหนักไปทางการถ่ายทอดภาพประกอบหนังสือ  หรือการลอกแบบเป็นส่วนใหญ่  แม้ว่าบางส่วนจะมีลักษณะของกรีกและโรมันแฝงอยู่บ้างก็ตาม  แต่แนวโน้มส่วนใหญ่มุ่งที่ศาสนา  พยายามที่จะสั่งสอนคนโดยใช้ภาพประกอบเป็นส่วนสำคัญ  และ ระยะนี้การวาดเส้นตัวหนังสือ และการออกแบบตัวหนังสือมีความก้าวหน้ามาก  เช่น  ภาพประกอบคัมถีร์

 

   สำหรับในสมัยกรีกและโรมัน  ถือได้ว่าเป็นช่วงของการวาดเส้นที่ศิลปินสามารถถ่ายทอดโลกภายนอกอย่างมีเหตุผลขึ้น  รู้จักสร้างภาพให้ลึก  รู้จักใช้แสงและเงา  ซึ่งใช้อิทธิพลต่อมาในสมัยกลาง

5. การวาดเส้นในสมัยฟื้นฟูอีตาลี  (ค.ศ.1300 - ค.ศ.  1600)  

         การวาดเส้น ส่วนหนึ่งที่เราฝึกฝนปฏิบัติกันในปัจจุบันนี้ ได้รับอิทธิพล และแนวการถ่ายทอดมาจากการวาดเส้นในสมัยการฟื้นฟูอีตาลียุคนี้  แนวคิดของการวาดเส้น และการฝึกฝนในสมันฟื้นฟูเน้นอยู่ที่ ความสำคัญของการถ่ายทอด  คือ  ถือว่าการถ่ายทอด ด้วยการใช้เส้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับศิลปิน   การวาดเส้นอกจากจะเน้นอยู่ที่ทักษะหรือ ความชำนาญในการบังคับมือ และฝึกสายตาแล้วยังเน้นถึงการพัฒนาความคิด และความรู้สึกด้วย  โดยยอมรับกันว่า  บทบาทของการวาดเส้นเปรียบเสมือนเครื่องมืออุปกรณ์อย่างหนึ่ง ทางปัญญา  ที่จะแสดงให้รู้ว่าผู้เขียนมีความเฉลียวฉลาด  มีความคิด และความสามารถในการแก้ปัญหาระดับไหน  และยังแสดงให้ทราบถึงความคิดในการออกแบบต่างๆด้วย  ซึ่งหมายถึงว่าผู้เรียนวาดเส้นจะต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน  ตามระบบของการฝึกงานอยู่กับช่างฝีมือโดยตรง

ประติมากรรมหินอ่อนลอยตัว ของ ไมเคิลแองเจลโล บุคคลที่เป็นยอดทางด้านฝีมือแห่งยุดฟื้นฟูอีตาลี

 

 ( ผู้เขียนที่ the majestic Palazzo Vecchio, Florence , Italy ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2540 )

6. การวาดเส้นในสมัย นีโอคลาสสิค  โรแมนติค และ เรียสลิสซึ่ม  (ค.ศ.  1800 ค.ศ.1860)

ศูนย์กลางของการวาดเส้นเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และเศรษฐกิจ  อิตาลีเป็นศูนย์กลางในสมัยฟื้นฟู  ศตวรรษที่  15  กลุ่มยุโรปตอนเหนือเป็นศูนย์กลางในศตวรรษที่  17  และในศตวรรษที่  19  ฝรั่งเศสได้กลายเป็นแหล่งกลางของศิลปกรรมทุกแขนง  โยเฉพาะอย่างยิ่งปารีส   แนวคิดอันเป็นเสมือนทฤษฏีของนีโอคลาสสิคอีกประการหนึ่งก็คือ  การเน้นการวาดเส้นเป็นหลักสำคัญ  การระบายสีถือเป็นอันดับรอง  ศิลปินกลุ่มนีโอคลาสสิค จะพยายามร่างรูปแบบอย่างแน่นอนด้วยเส้นรอบนอกก่อนแล้วระบายสี  ถ้าเป็นการเขียนรูปคนก็นิยมท่าทางคนยืน  โดยน้ำหนักอยู่บนเท้าขวา  เท้าซ้าย  งออยู่ในท่าพัก  ซึ่งถือกันว่าเป็นถ้าที่สมบูรณ์และงดงามมากที่สุด

ศิลปินกลุ่มโรแมนติคยึดมั่นในอารมณ์ที่แสดงออกรุนแรง  ด้วยการตัดกันของ แสงและเงา  การใช้วัสดุหลายชนิดปนกัน  บางภาพแสดงความรู้สึกของหุ่นมโนภาพ  ความทารุณโหดร้าย และความรู้สึกต่างๆที่เกินความจริง  ซึ่งตรงข้ามกับ นีโอคลาสสิค  ซึ่งยึดมั่นในกฏเกณฑ์ ของกรีกโบราณ

การวาดเส้นในตอนกลางศตวรรษที่  19  หลังจากโรแมนติคก็คือ  ลัทธิเรียสลิสซึ่ม  ลัทธินี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์  จึงทำให้รูปแบบของการวาดเส้นเหมือนจริง  หรือคล้ายจริงมากขึ้น  และ การเขียนตามแนวเหมือนจริงนี้  ช่วยขยายความรู้ด้านต่างๆ ให้เป็นที่เข้าใจได้ง่าย  นอกจากนี้การเขียนการ์ตูน และ ภาพล้อก็มีบทบาทมากขึ้นด้วย

ภาพวาดเส้นตัวเมืองของชาวยุโรป ในปี ค.ศ. 1642

7. ประวัติการวาดเส้นที่มีคุณค่า และ มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

   เป็นภาพวาดเส้นที่บันทึกเรื่องราว ของ วิถีชีวิต สภาพเมือง สิ่งแวดล้อมฯลฯ ของประเทศไทย ก็คือ ภาพจากจดหมายเหตุของ  มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ตำแหน่งเอกอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ได้เข้ามาครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีซึ่งตรงกับปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้เขียนจดหมายเหตุบอกเรื่องราวต่างๆเกี่ยวประเทศไทยไว้มาก รวมทั้งวาดภาพประกอบซึ่งสะท้อนไห้เห็นถึง คุณค่าของการวาดเส้นได้เป็นอย่างดี

ภาพวาดเรือยาวที่รับส่งคณะทูต และ เรือยาวพระที่นั่งต้นของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม

สื่อวิดีโอจาก youtube

บทเรียนจากไฟล์ Pdf

bottom of page