top of page

ศ21101 ศิลปะ 1

สิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ ทัศนธาตุ และสิ่งแวดล้อม ศิลปะความเพื่อสุนทรียะทางอารมณ์และประโยชน์ใช้สอย

 

ทัศนศิลป์ เป็นผลงานศิลป์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อมุ่งแสดงความงดงาม และความพึงพอใจให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป มากกว่ามุ่งสนองตอบทางด้านประโยชน์ใช้สอยทางร่างกาย และการรับรู้ผลงานทัศนศิลป์ผ่านประสาทสัมผัสทางสายตา ซึ่งอาจจะเรียกว่า ศิลปะที่มองเห็นก็ได้

                                ทัศนศิลป์ประกอบด้วยศิลปะ 4 ประเภท คือ

  1. จิตรกรรม

  2. ประติมากรรม

  3. สถาปัตยกรรม

  4. ภาพพิมพ์

 

จิตรกรรมผลงานอ.จักรพันธ์ โปษยกฤต

 

ขลุ่ยทิพย์ เขียน ยิ้มศิริ

 

 

ยามเช้า, ๒๕๒๔
ศ.ประหยัด พงษ์ดำ
ภาพพิมพ์แกะไม้, ๖๐ x ๔๐ ซม.
สมบัติของมหาวิทยาลัยศิลปากร
รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทภาพพิมพ์
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๒๔
The Morning, 1981
Wood cut, H. 60 x 40 cm.

ทัศนศิลป์ แปลความหมายตรงตัวได้ความว่า ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมองเห็นด้วยสายตา จึงก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกสะเทือนใจ ลักษณะของผลงานทัศนศิลป์ เป็นเรื่องของการสนองตอบสัมผัสทางสายตา อันได้แก่ มีรูปร่าง รูปทรง มีสีสัน กินพื้นที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้

 

คุณค่าของทัศนศิลป์

 

                ในการชื่นชมผลงานทัศนศิลป์ อันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มักพิจารณาจากคติ ความเชื่อ ความนิยม และประโยชน์ใช้สอยหรือที่เรียกว่า คุณค่าทางศิลปะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

  1. คุณค่าทางเรื่องราว

  2. คุณค่าทางรูปทรง

                คุณค่าทางเรื่องราว

                หมายถึง คติความเชื่อ และความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะเป็นการบอกเล่าเนื้อหาและสาระสำคัญที่ผู้สร้างศิลปะต้องการถ่ายทอดและบอกกล่าว รวมถึง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในแง่ต่างๆของศิลปกรรมนั้นๆ

                คุณค่าทางเรื่องราวทางทัศนศิลป์ที่ทำกันพอประมวลได้ดังนี้

  • เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อถือ ศรัทธา

  • เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา

  • เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

  • เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง

  • เรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี

คุณค่าทางรูปทรง

หมายถึง เกณฑ์ความงดงามที่มีอยู่ในศิลปะ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการประสานกันขององค์ประกอบทางความงามที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาที่ผู้สร้างผลงานศิลปะจินตนาการและออกแบบขึ้นด้วยความชำนาญ

ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความงามของทัศนศิลป์มี 6 ประการ คือ

  1. เส้น

  2. รูปร่าง รูปทรง

  3. จังหวะและช่องไฟ

  4. น้ำหนัก

  5. สี

  6. พื้นผิว

  7. เส้น หมายถึง การต่อกันของจุดที่นำไปใช้ในการแสดงขอบเขต และส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ในภาพประกอบด้วย เส้นตั้ง เส้นนอน เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นหยัก เส้นขด เส้นแต่ละชนิดจะให้ความรู้สึกในการรับรู้ต่างๆกัน

  8. รูปร่าง หมายถึง การต่อกันของเส้นตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และสิ่งที่แสดงขอบเขตรอบนอกของวัตถุสิ่งของต่างๆ มีลักษณะเป็น 2 มิติ แสดงความกว้างและความยาว รูปร่างมักอยู่รวมกับรูปทรงและเรียกควบคู่กัน รูปทรง สิ่งที่มีลักษณะ 3 มิติ แสดงความกว้าง ความยาว ความหนา ในทางศิลปะมีความหมายรวมไปถึงความหนาอันเกิดจากแสง-เงา และน้ำหนักสีบนผิวหน้าของจิตรกรรมด้วย

  9. จังหวะและช่องไฟ หมายถึง ความเหมาะสม กลมกลืนในการจัดวางรูปและพื้น

  10. น้ำหนัก หมายถึง ความเข้มของสีที่ทำให้เกิดความรู้สึกใกล้และไกล มิได้หมายถึง ความต้านทานแรงดึงดูดของโลก โดยปกติน้ำหนักของสีจะเทียบเป็นขาว-ดำ น้ำหนักน้อยสุดจะเป็นสีขาว แล้วเพิ่มขึ้นที่ละน้อยจนเป็นดำซึ่งหนักที่สุด

  11. สี หมายถึง ความเข้มที่ปรากฏแก่ตา ในทางวัตถุสีมีลักษณะเป็นสสารชนิดหนึ่งที่สามารถระบาย ย้อม ฉาบ เปลี่ยนสีผิวหน้าวัตถุให้เป็นอย่างใหม่ได้

  12. พื้นผิว หมายถึง พื้นนอกของวัตถุสิ่งของที่แสดงความขรุขระทางการมองเห็น

                ส่วนประกอบทั้ง 6 นี้ จะมีอยู่ในผลงานทัศนศิลป์ทั้งประเภทจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในการชื่นชมความงามของทัศนศิลป์ทางด้านรูปแบบ จึงจำเป็นต้องมองจากส่วนประกอบทั้ง 6 ประการ ในทำนองกลับกันเมื่อต้องการสร้างผลงานทัศนศิลป์อย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องนำส่วนประกอบทั้ง 6 นี้มาออกแบบเข้าด้วยกัน

 

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

 

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลยของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลยของตัวเองได้

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งการพัฒนา” นั้น ปรากฏว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

- ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
- ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้
พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
- ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำ

ให้เกิดการแออัด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

จนถึงภาวการณ์ปัจจุบันได้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

 

        ความพยายามในการใช้หลักการทางทัศนศิลป์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ศิลปะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการนำหลักการทัศนศิลป์ มาใช้ในการสร้างงานศิลปะ เช่น การเขียนภาพรณรงค์เพื่อลดภาวะโลกร้อน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนหันมาร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆและใช้ให้คุ้มค่า

สื่อวิดีโอจาก youtube

bottom of page