top of page

ลักษณะงานศิลปะสากล

ศิลปะสากลสมัยกลาง (Middle Age)

ศิลปะยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval art) “ศิลปะยุคกลาง” ในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1,000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะของยุโรป ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเหนือ บริบทของศิลปะยุคกลางรวมขบวนการทางศิลปะและสมัยศิลปะที่สำคัญ ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ประเภทงาน การฟื้นฟู งานศิลปะ และ ศิลปินเอง

นักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามที่จะให้ความหมายและนิยามศิลปะยุคกลางออกเป็นสมัยและ ลักษณะแต่ก็ประสบกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วก็จะรวมคริสเตียนยุคแรก ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะเกาะ ยุคก่อนโรมาเนสก์ and ศิลปะโรมาเนสก์ และศิลปะกอธิค และยังรวมไปถึงสมัยอื่นๆ อีกหลายสมัยภายในกลุ่มลักษณะนี้ นอกจากการแบ่งแยกลักษณะไปตามภูมิภาคแล้วลักษณะของสังคมโดยทั่วไปในช่วงนี้เป็นสังคมที่อยู่ในระหว่างการสร้างตนเองให้เป็นชาติเป็นวัฒนธรรม และจะมีลักษณะศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่นศิลปะแองโกล-แซ็กซอน หรือ ศิลปะนอร์ส งานศิลปะยุคกลางมีหลายรูปแบบแต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นก็ได้แก่งานประติมากรรม หนังสือวิจิตร งานกระจกสี งานโลหะ และ งานโมเสกซึ่งเป็นงานที่มีความเป็นถาวรภาพมากกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งานไม้ หรือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, รวมทั้งพรมแขวนผนัง

ศิลปะยุคกลางในยุโรปวิวัฒนาการมาจากต้นรากของธรรมเนียมนิยมทางศิลปะของจักรวรรดิโรมันรูปสัญลักษณ์คริสเตียนของสมัยคริสเตียนตอนต้น ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทางศิลปะของ “อนารยชน” จากทางตอนเหนือของยุโรปออกมาเป็นศิลปะอันมีคุณค่าที่เป็นงานศิลปะที่วางรากฐานของศิลปะของยุโรปต่อมา และอันที่จริงแล้วศิลปะยุคกลางก็คือประวัติศาสตร์ของปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก คริสเตียนตอนต้น และอนารยชน[1] นอกไปจากลักษณะที่ออกจะเป็นทางการของศิลปะคลาสสิกแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างงานที่แสดงสัจนิยมของสิ่งที่สร้างที่จะเห็นได้จากงานศิลปะไบแซนไทน์ตลอดยุคนี้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น ขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันตกดูจะผสานหรือบางครั้งก็จะเป็นการแข่งขันกับการแสดงออกที่เกิดขึ้นในศิลปะตะวันตก และ องค์ประกอบของการตกแต่งอันมีชีวิตจิตใจของทางตอนเหนือของยุโรป ศิลปะยุคกลางมาสิ้นสุดลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เป็นสมัยของการหวนกลับมาฟื้นฟูความเชี่ยวชาญและคุณค่าของศิลปะคลาสสิก จากนั้นศิลปะยุคกลางก็หมดความสำคัญลงและได้รับการดูแคลนต่อมาอีกหลายร้อยปี เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะยุคกลางก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเห็นกันว่าเป็นสมัยศิลปะที่มีความรุ่งเรืองเป็นอันมากและเป็นพื้นฐานของการวิวัฒนาการของศิลปะตะวันตกต่อมา

ในส่วนของยุโรปตะวันตกนั้น ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะสมัยกลางแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque Arts)

  2. ศิลปะกอธิก (Gothic Arts)

EmbeddedImage.jpg

านโมเสกขนาดมหึมาแบบไบแซนไทน์ซึ่งเป็นงานที่แสดงถึงความสำเร็จของศิลปะยุคกลาง การตกแต่งในภาพอยู่ที่มอนริอาลในซิซิลีจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

  1. ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque Arts)

หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัย ๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางใต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมิได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่น ๆ ที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของศิลปะโรมาเนสก์เอง

 

ด้านสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (ภาษาอังกฤษ: Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน

ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกัน[1] เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น:ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง

 

ด้านประติมากรรม

งานประติมากรรมของโรมาเนสก์เป็นประติมากรรมที่มีขนาดใหญ่และมีสัดส่วนใกล้เคียงกับมนุษย์และสร้างประติมากรรมนูนสูงตกแต่ง สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักหินตามฝาผนังเหนือประตูหน้าต่าง เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ใช้ลวดลายแบบเรขาคณิตตามแบบชนเผ่าเยอรมันโบราณ รูปแกะสลักมักยาวเรียวไม่เหมือนจริง ซึ่งแตกต่างจากศิลปะกรีกและโรมันที่เน้นรูปทรงสัดส่วนเหมือนจริงตามธรรมชาติ เช่น รูปพระเยซูบนประตูทางเข้าโบสถ์แซงฟัง ฝรั่งเศส

 

 

 

ด้านจิตรกรรม

เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงถึงเรื่องราวทางศาสนา เขียนด้วยสีปูนเปียก (Fressco)ตกแต่งผนัง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกทำลายโดยดินฟ้า อากาศ เสียหายเป็นส่วนใหญ่ และได้รับการเขียนทับใหม่โดยศิลปินในสมัยต่อมา จิตรกรรมอีก ลักษณะหนึ่งคือจิตรกรรมประกอบหนังสือหรือประกอบคัมภีร์ไบเบิล

ในช่วงพุทธศตวรรศที่ ๑๖-๑๗ จิตรกรรมโรมาเนสก์มีรูปร่างลักษณะแบน และแสดงเส้นเป็นระเบียบมั่นคงที่มีพลังจาก การบิดเอี้ยว และวนเป็นวง ผลงานจิตรกรรมภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เริ่มมีมิติทางรูปทรงอย่างงานประติมากรรมมากขึ้น แต่ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา เท่าไรนัก อิทธิพลของศิลปะไบเซนไทน์มักมีปรากฏอย่างชัดเจนในส่วนของเสื้อผ้าที่เป็นรอย ยับจีบคล้ายรูปเรขาคณิต การจัดวางท่าทางรูปคนให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

2. ศิลปะกอทิก (Gothic Arts)

ศิลปะโกทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า”โกธิค” เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ

ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า “ศิลปะโกทิก” จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีกโรมัน ที่มีกฏเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้ รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดู ไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะโกธิคค่อนข้างรุนแรงว่า เป็นศิลปะที่ “ไร้รสนิยม” และ”วิตถาร”

จิตรกรรม

สมัยกอทิกมีพื้นที่เขียนภาพบนฝาผนังน้อยลง เพราะสถาปัตยกรรมมีช่องเปิดมาก ดังนั้นจึงมักเน้นไปที่การออกแบบกระจกสีบานหน้าต่าง สำหรับการเขียนภาพในหนังสือเขียน มักจะแสดงรูปคนที่สะโอดสะอง ในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่พลิ้ว และโค้งไหวอย่างอ่อนช้อย

สถาปัตยกรรม

มี ผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น

ประติมากรรม

ชอบทำเป็นรูปคนหรือสัตว์ ตามระเบียง หลังคา แล้วเจาะรูตรงปากเพื่อให้น้ำฝนผ่าน เวลา ฝนตกจะดูเหมือนกำลังพ่นน้ำออกมา เรียกประติมากรรมแบบนี้ว่า “การ์กอย” งานประติมากรรมสมัยนี้ทำขึ้นเพื่อ

ประดับตกแต่ง

ทั้งภายนอกและภายในอาคาร มีทั้งประติมากรรมแบบนูนสูงและแบบลอยตัว มีสัดส่วนสูงชลูดตามโครงสร้างตัวอาคารส่วนมากทำเป็นรูปพระเยซู เน้นรอยย่นบนใบหน้าและไม่คำนึงถึงสัดส่วนจริงของมนุษย์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (ฝรั่งเศส: Renaissance; อิตาลี: Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมในยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) จะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต (geometry) และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิค เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อน และไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิค

จิตรกรรม

จิตรกรรมของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาส่วนใหญ่เป็นงานที่ได้รับการจ้างจากสถาบันศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก งานที่จ้างมักจะเป็นงานขนาดใหญ่และมักจะเป็นภาพชุดที่เขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับ “ชีวิตของพระเยซู”, “ชีวิตของพระแม่มารี” หรือ ชีวิตของนักบุญโดยเฉพาะนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิ นอกจากนั้นหัวข้อทางศาสนาแล้วก็อาจจะเป็นหัวเรื่องที่เป็นอุปมานิทัศน์ที่ เกี่ยวกับการรอดจากบาป (Salvation) และบทบาทของสถาบันศาสนาในการช่วยให้การรอดจากบาปเกิดขึ้น งานประเภทอื่นที่สถาบันศาสนาสั่งให้ทำก็รวมทั้งฉากแท่นบูชาที่เขียนด้วยสีฝุ่นบนแผง หรือต่อมาสีน้ำมันบน ผ้าใบ นอกไปจากการสร้างฉากแท่นบูชาขนาดใหญ่แล้ว ก็ยังมีการสร้างภาพขนาดเล็กที่ใช้ในการสักการะ (devotional pictures) กันเป็นจำนวนมากทั้งสำหรับสถาบันศาสนาเองและสำหรับใช้ในการสักการะส่วนบุคคล หัวเรื่องที่เป็นที่นิยมกันที่สุดในการวาดคือ “พระแม่มารีและพระบุตร”

ประติมากรรม

ประติมากรรมมีลักษณะคล้ายกันกับงานจิตรกรรม คือ การให้รายละเอียดตามสัดส่วนต่างๆ อย่างเหมือนจริงมีการจัดวางสัดส่วนต่างๆ อย่างซับซ้อน มีการนำหินสีต่างๆ มาใช้ผสมผสานกับโลหะสำริด เพื่อให้เกิดสีฉูดฉาดแต่ประติมากรชั้นนำจะไม่ใช้วัสดุที่มีสี แต่จะใช้กรอบและฉากหลังหลายสีเพื่อให้เกิดความเร้าอารมณ์ ส่วนตัวงานจะเป็นการลอกเลียนแบบให้คล้ายธรรมชาติเท่านั้น

  1.  

    ศิลปะบารอก (Baroque)

ศิลปะแบบบาโรกเริ่มมีความนิยมกันครั้งแรกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากการประชุมแห่งเมืองเทรนต์ ทางที่ประชุมเรียกร้องให้ศิลปินเปลี่ยนแนวคิดในการสร้างศิลปะ โดยให้สร้างจิตรกรรมและประติมากรรมทางศาสนาเพื่อคนไร้การศึกษา เพื่อให้คนเหล่านี้มีความเข้าใจในศาสนาและมีความศรัทธาเพี่มขึ้น แทนที่จะสร้างศิลปะเฉพาะผู้มีการศึกษาเท่านั้น การใช้ศิลปะเพื่อศาสนา มีอิทธิพลเริ่มมาจากผลงานของ การาวัจโจ และ พี่น้องการ์รัชชี ทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานอยู่ที่กรุงโรมในระยะนั้น

ศิลปะแบบบาโรกแยกตัวจากศิลปะแบบจริตนิยมของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเน้นการประเทืองปัญญา มาเป็นศิลปะที่เน้นทางอารมณ์และความรู้สึก และทางนาฏกรรม (dramatic presentation) จุดมุ่งหมายคือทำให้ผู้ดูเข้าใจศิลปะได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องตีความหมายที่ศิลปินแอบแฝงเอาไว้ นอกจากนั้นเข้าใจแล้วยังเกิดความสะเทือนอารมณ์ เนื้อหาของศิลปะแบบบาโรกมักจะเอามาจากเรื่องของวีระชนต่าง ๆ เช่น ประวัติพระเยซู หรือนักบุญต่าง ๆ อย่างเช่นผลงานของอันนีบาเล การ์รัชชี และศิลปินในกลุ่มเดียวกัน คารัคชีซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การาวัจโจ และ Federico Barocci สองคนหลังนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มโปรโตบารอก (proto-Baroque) ศิลปินอีก 2 คนที่ถือกันว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของศิลปะแบบบาโรกคือ มีเกลันเจโล และ Correggio ด้วย

Assumption of the Virgin Mary โดยอันนีบาเล การ์รัชชี (โรม, อิตาลี)

ถึงแม้ว่าศิลปะแบบร็อกโคโคจะเข้ามาแทนศิลปะแบบบาโรกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะการตกแต่งภายใน ภาพเขียน หรือมัณฑนศิลป์ แต่ทางด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็ยังเป็นที่นิยมกันมาจนถึงสมัยศิลปะแบบ Neoclassics เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือปราสาทนีอาโพลิทันที่คาเซอร์ทา (Neapolitan palace of Caserta) ซึ่งไม่ได้เริ่มสร้างจนกระทั่งปี ค.ศ. 1752

เมื่อพูดถึงจิตรกรรม การวางท่าของแบบในภาพเขียนแบบบาโรกจะกว้างกว่าแบบแมนเนอริสซึม เนื้อหาของภาพจะไม่กำกวมหรือมีเลศนัยหรือต้องตีความหมาย การวางท่าอาจจะเปรียบเทียบได้กับท่าทางอย่างโอ่อ่าแบบตัวละครโอเปร่า โอเปร่าเองก็ถือกันว่าเป็นศิลปะแบบบาโรกโดยแท้ ท่าบาโรกจะขึ้นอยู่กับความขัดแย้งในตัวแบบ โดยจะเห็นได้จากการวางไหล่และสะโพก จะวางบิดจากกัน การวางท่าอย่างขัดแย้งกันอย่างนี้ทำให้ผู้ดูภาพหรือรูปปั้นมีความรู้สึกเหมือนตัวแบบกำลังจะเคลื่อนไหวออกจากรูป ตัวอย่างของการวางที่ที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดจากรูปปั้นชื่อ Ecstasy of St. Teresa[1] ที่วัดซานตามาเรีย เดลลา วิตอเรีย (Santa Maria della Vittoria) ที่กรุงโรม แกะจากหินอ่อนโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี

ศิลปะแบบบาโรกยุคหลังเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จะค่อนข้างขาดชีวิตจิตใจและสีสันจะไม่ฉูดฉาดเมื่อเทียบกับสมัยแรก ๆ สถาปัตยกรรมสมัยนี้บางทีก็แยกออกมาเป็นสมัยปลายบาโรก อย่างเช่นงานของ คลอด เปอโรลด์ (Claude Perrault) สมัยนี้เรียกกันว่านีโอพาลลาเดียน (neo-Palladian) งานที่เด่น ๆ สมัยนี้ก็คืองานของวิลเลียม เคนต์ จิตรกรชาวอังกฤษ ที่เชี่ยวชาญทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบโดยเค้นท์มีอิทธิพลโดยตรงมาจากเฟอร์นิเจอร์แบบบาโรกที่กรุงโรมและเมืองเจนัว

 

 

2. ศิลปะโรโกโก (Rococo Art)

ศิลปะโรโกโก (อังกฤษ: Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเครื่องเรือนที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโกโกถูกแทนที่ด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกในเวลาต่อมา

คำว่าโรโกโกมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโกโกจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโกโกเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโกโกก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

ศิลปะโรโกโกเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโกโกก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโกโกก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโกโกทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้

ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปะโรโกโกรุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เครื่องเรือน จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปะโรโกโกยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปะบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโกโกจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)

ศิลปะแบบโรโกโกเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปะบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี ศิลปะโรโกโกแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโกโกที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโกโกแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโกโกฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง

พอถึงปลายสมัยโรโกโก ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและไต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโกโกที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิลส์ และซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสกานีและโรม จะไม่นิยมโรโกโก และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก

โรโกโกที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโกโกจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโกโกที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ทอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเครื่องเรือนที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเครื่องเรือนโดยการนำโรโกโกมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโกโก ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโกโกโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโกโกใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโกโก และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโกโกมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิกซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปะโรโกโกเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

ศิลปะโรโกโกเริ่มเสื่อมความนิยมกันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชนเช่นวอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่าศิลปะโรโกโกเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ "รก" เพราะจะเต็มไปด้วยลวดลายหอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่นๆสารพัด[1] พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะโรโกโกก็เสื่อมความนิยมในประเทศฝรั่งเศส ศิลปะนีโอคลาสสิกที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของฌัก-หลุยส์ ดาวีด (Jacques Louis David) ขณะเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีก็ค่อนและเรียกศิลปะโรโกโกว่า Zopf und Perücke (ภาษาอังกฤษ: pigtail and periwig) หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า "Zopfstil" ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะ") ที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส เข้ามาแทนที่

ระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโกโกก็มีการฟื้นฟูขึ้นมาอีก ศิลปินอังกฤษเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่หันมาฟื้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า "แบบหลุยส์ที่ 14" เมื่อพูดถึงโรโกโก ศิลปะโรโกโกที่ไม่มีใครซื้อกันที่ปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ แต่ศิลปินคนสำคัญเช่นเออแฌน เดอลาครัว (Eugène Delacroix) และ ผู้อุปถัมภ์ศิลปะเช่นจักรพรรดินียูจีน (Empress Eugénie) (พระมเหสีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3) ก็ซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปะโรโกโกเพราะความความอ่อนช้อยและความมีลูกเล่น

Le Dejeuner โดยบูแชร์แสดงให้เห็นองค์ประกอบชีวิตของภาพเขียนแบบโรโกโก (ค.ศ. 1739, พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)

การตกแต่งภายในที่กาชินา (Gatchina)

ลวดลาย rocaille ที่มหาวิหารเวลเฟ็น (Welfen Münster) ที่เมืองชไตน์การ์เด็น ประเทศเยอรมนี

 

 

ศิลปะสมัยใหม่

ศิลปะสมัยใหม่ เป็นคำที่ใช้เรียกการสร้างงานศิลปะตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงประมาณคริสต์ทศวรรษ 1970 (สำหรับการสร้างงานศิลปะเมื่อไม่นานมานี้ มักจะเรียกว่า ศิลปะร่วมสมัย หรือ ศิลปะหลังสมัยใหม่) โดยการเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละบุคคลมากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้นซึ่งเป็นแบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกลได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและฟิสิกส์ได้จัดแจงรูปแบบความคิดของศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25 จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไปบ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะสำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลกรอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ของตัวเองจากวัสดุและเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะสำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25 แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและได้รับอิทธิพลจากศิลปะในแบบดั้งเดิมอีกด้วย

ศิลปะสมัยใหม่ โดยสรุป จึงเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคนเน้นความเป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิดเทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็ สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็ แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็ แสดงภาวะทางจิตของศิลปินและกลุ่มชน บ้างก็ แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆ รวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยอย่างแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับความนิยมและสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

ศิลปะสมัยใหม่ ผลงานของปีกัซโซ

รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส บนประตูชัยในกรุงปารีส

  1.  

     

    ศิลปะแบบโรแมนติก หรือจินตนิยม ( Romanticism )

เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

  • สถาปัตยกรรม นำรูปแบบในอดีตมาดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากแบบโกธิก

  • ประติมากรรม เน้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น รูปปั้นนูนสูง มาเซเลส ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย ในกรุงปารีส , รูปปั้นสัตว์ มักเป็นรูปสัตว์ป่าสองตัวต่อสู้กัน

  • จิตรกรรม ใช้ สี เส้น แรเงา รุนแรงมุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ เช่น ภาพ “อิสรภาพนำประชาชน” ( Liberty Leading the People ),ภาพ “แพของเมดูซา” ( Raft of Medusa )

  • ดนตรี มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจ เช่นความรู้สึกชาตินิยม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงคือ เบโทเฟน ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 9” และ ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี ซึ่งแต่งเพลง “ซิมโฟนีหมายเลข 6” เป็นเพลงประกอบบัลเลต์เรื่อง Swan Lake

2. ศิลปะสัจนิยม หรือเรียลลิสซึม (Realism)

คือทัศนศิลป์ และ วรรณกรรมที่แสดงตัวแบบหรือเรื่องราวตามที่ปรากฏในชีวิตประจำวันโดยปราศจากการสร้างเสริมหรือการตีความหมาย และหมายถึงงานศิลปะที่เผยให้เห็นถึงความเป็นจริงที่อาจจะเน้นความเป็นอัปลักษณ์ด้วย

สัจนิยมมักจะหมายถึงขบวนการศิลปะที่เริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1850 ความนิยมสัจนิยมเพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มมีศิลปะการถ่ายภาพเกิดขึ้น ที่ทำให้ศิลปินมีความต้องการที่จะสร้างงานที่ดู “แท้จริง” ศิลปินสัจนิยมจะมีทัศนคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิจินตนิยมซึ่งเป็นประเภทของศิลปะที่มีอิทธิพลต่องานศิลปะและวรรณกรรมในฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการบิดเบือนทำให้ศิลปินสัจนิยมมีความเชื่อในปรัชญาของความเป็นจริง และ ต่อต้านการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเกินเลย สัจจะและความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญของผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นสัจนิยม

ภาพเขียนแบบสัจจนิยม “สวัสดีมงซิเออร์คูร์เบต์” โดย กุสตาฟ คูร์เบต์ ค.ศ. 1854

bottom of page