top of page

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนออนไลน์

รายวิชา ศิลปะ 4

Welcome To Learn Art Online By KruNUENG

Gradient

เทคนิคการเขียนสีน้ำ

เทคนิคสีน้ำ

    การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมสีน้ำ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ 

การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติ และความเป็นไปของมัน การฝึกฝนจะทำให้รู้จังหวะและควบคุมได้ เทคนิคพื้นฐาน

การระบายสีน้ำ 5 ประการนี้ จะทำให้ผู้เริ่มต้นรู้จักสีน้ำอย่างถ่องแท้และสามารถนำไปสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรม

สีน้ำที่สมบูรณ์ ได้อย่างแน่นอน

 

เรามารู้จักอุปกรณ์กันก่อนค่ะ

 

อุปกรณ์ของเรา

 

1.สีน้ำ

2.กระดาษสีน้ำ (Canson ผิวหยาบ 300 gsm)

3.พู่กัน

4.ถ้วยใส่น้ำ

5.ถาดสี

6.ทิชชู่เช็ดพู่กัน

 

เทคนิคผสมสีและการระบายสี

 

    เปียกบนเปียก

        การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป 

    การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก 

    เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า 

    หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด 

    เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ 

        1.การไหลซึม

        2.การไหลย้อน

 

    เปียกบนแห้ง

 

        การระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี 

    ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 

      1.ระบายเรียบสีเดียว

      2.ระบายสีอ่อนแก่เรียบสีเดียว

      3.ระบายเรียบหลายสี

 

    แห้งบนแห้ง

 

        การระบายแบบแห้งบนแห้ง หมายถึง การระบายสีที่ใช้พู่กันจุ่มสีน้อย แล้วระบายอย่างรวดเร็วบนกระดาษ 

        การระบายสีแบบนี้ ผู้ระบายมักจะบันทึกความรู้สึกของตนลงไปในขณะระบายด้วย การระบายแบบแห้งบนแห้ง 

        มีประโยชน์ในการที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือบริเวณที่เห็นว่า ควรทำให้เด่นได้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่า 

        ผลอันเกิดจากการระบายแห้งบนแห้ง คล้ายกับการเขียนชวเลข หรือการส่งโทรเลข กล่าวคือ มีข้อความสั้นๆ 

        ชัดเจน กะทัดรัด และรวดเร็ว การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ

            1.การแตะ

            2.การป้าย

            3.เทคนิคผสม

 

    ระบายบนระนาบรองรับ

 

        เทคนิคการระบายสีทั้ง 3ประเภทดังกล่าวไปแล้ว เป็นการระบายบนกระดาษวาดเขียน และกระดาษต่างชนิดกัน 

    ไม่ได้ปรุงแต่งลักษณะผิวแต่อย่างใด สำหรับการระบายบนระราบรองรับที่เตรียมไว้ เป็นการปรุงแต่งลักษณะผิว

    กระดาษให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อผลที่แปลกและน่าสนใจกว่า นอกจากนี้ยังช่วยสนองความต้องการของ

    ผู้สนใจสีน้ำที่ต้องการถ่ายทอดรูปแบบวัตถุให้คล้ายกับสิ่งที่มองเห็นหรือต้องการสร้างสรรค์รูปแบบให้ต่างไปจากเดิม

 

    การระบายเคลือบ

 

       เป็นการระบายทับซ้ำสีที่แห้งสนิทแล้วด้วยสีเดิมที่เข้มกว่า โดยสีที่ระบายเคลือบนี้ควรต้องเป็นสีโปร่งแสง ผลที่ได้คือ     ส่วนที่ระบายเคลือบจะเป็นพื้นและส่วนที่เว้นไว้จะเป็นรูป ซึ่งรูปกับพื้นนี้จะมีความขัดแย้งหรือตัดกันเสมอ 

    คือถ้าพื้นเข้มรูปต้องอ่อน ถ้าพื้นอ่อนรูปต้องเข้ม เทคนิคการระบายเคลือบนี้นำไปใช้ สร้างรูปทรง ผลักระยะให้ลึกตื้น  

    สร้างเงา ลดความจัดจ้านของสีบรรยากาศ  

 

    การระบายขอบคมชัดและเลือนลาง

 

        Hard edge : เป็นการระบายให้เกิดการตัดกัน แบ่งขอบเขตระหว่างรูปกับพื้นหรือพื้นกับรูปอย่างชัดเจน หรือให้เกิด        เป็นเหลี่ยมเป็นสัน วิธีการ คือระบายเป็นขอบตามที่ต้องการแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณี

     เขียนภาพทิวทัศน์ที่มีบ้านในสวน เราให้ส่วนที่เป็นหลังคาเว้นขาวไว้เพราะเป็นส่วนที่รับแสง ถัดจากหลังคาไปเป็น            บรรยากาศก็ให้ใช้สีของบรรยากาศเพิ่มความเข้มระบายกดระยะลงไปเป็น Hard edgeเพื่อให้ตัวบ้านและบรรยากาศ

     โดยรอบตัดกันเป็นขอบคมชัด แยกสัดส่วนกันเพื่อให้บ้านดูลอยเด่นขึ้นมา 

 

        Soft edge : การเจือจางขอบเขตระหว่างพื้นกับรูปบางส่วนให้ดูกลมกลืนกัน วิธีการคือใช้น้ำมา soft ตรงเส้นขอบให้       เกิดการเจือจาง เทคนิคนี้ใช้ในกรณีที่ต้องการลดความขัดแย้งให้เกิดการกลมกลืน เช่นกรณีระบายภาพคลื่นในทะเล 

    บางจุดของคลื่นจะมีน้ำทะเลตัดกับฟองอย่างชัดเจน และบางจุดที่ต่อเนื่องจะมีความกลมกลืนกัน เพราะฟองคลาย

    ตัวลงหรืออาจเป็นส่วนที่รับแสง ตรงส่วนนี้ให้เราSoft edge โดยใช้น้ำมาSoft เพื่อละลายเส้นขอบแสดงความ

    กลมกลืนได้

  • Grey Facebook Icon
  • Grey YouTube Icon
  • Grey Instagram Icon

CRPAO SCHOOL

bottom of page