top of page

ศ 33102 ศิลปะ 6

ศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19–20)

            อาณาจักรสุโขทัยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดสุโขทัย  ศิลปะสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  ลัทธิลังกาวงศ์  ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยมีรูปแบบที่งดงาม  นิยมหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะผสมสำริด   ศิลปะประยุกต์ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ  เครื่องสังคโลก  ซึ่งเป็นเครื่องเคลือบดินเผาที่มีการเขียนสวดสายต่างๆลงบนเครื่องปั้น

     ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19–24)

     อาณาจักรอยุธยามีศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  รูปแบบทางศิลปะในสมัยนี้มีความหลากหลายเนื่องจากอาณาจักรมีระยะเวลายาวนาน  โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์

      ด้านประติมากรรมส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปแบบเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยพระพุทธนิยมหล่อด้วยสำริด ในสมัยอยุธยาตอนต้นพระพุทธรูปเป็นศิลปะแบบอู่ทอง  ซึ่งเป็นการผสมผสานศิลปะทวารวดีกับลพบุรี ด้านสถาปัตยกรรมซึ่งนอกเหนือจากด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์แล้ว  ได้มีสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของประชาชนด้วย  สถาปัตยกรรมด้านศาสนาและพระมหากษัตริย์ที่ปรากฏในสมัยอยุธยาช่วงแรกคือ  พระปรางและเจดีย์ตามแบบอย่างศิลปะของลพบุรีและสุโขทัย                                                  

ด้านจิตกรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา  โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก  พุทธประวัติจิตกรรมที่ปรากฏ  ได้แก่  การจำหลักลายเส้นบนแผ่นหิน

                ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 25-ปัจจุบัน)

              ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะที่ถ่ายทอดมาจากศิลปะอยุธยา  เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (รัชกาลที่1)ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน                        

ด้านประติมากรรม  ในช่วงแรกรูปแบบงานยังคงสืบทอดมาจากสมัยอยุธยา  จนถึงสมัยรัชกาลที่3ได้มีอิทธิพลจากศิลปะจีนเข้ามาจากการนำเข้ารูปสลักฝีมือช่างชาวจีนมาประดับอาคาร  ในสมัยราชกาลที่4–6ได้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้น  โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก  ทำให้ศิลปะตะวันตดหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย

          ด้านสถาปัตยกรรม    นะยะแรกเป็นการสืบทอดแบบจารึกศิลปะอยุธยาแต่มีการตกแต่งประดับประดามากขึ้น  ในสมัยรัชกาลที่3 มีแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “อย่างนอก” คือแบบลายจีนเข้ามา  มีการตกแต่ง ศาสนสถานเป็นลวดลายแบบจีน  เช่น  อุโบสถวัดราชโอรส                                                                                                                                                                                

ด้านจิตกรรมมีทั้งรูปแบบของไทยและแบบร่วมสมัย  ในช่วงแรกยังคงเน้นการวาดภาพประดับฝาผนังโบสถ์  วิหาร  โดยใช้สีที่มีความหลากหลายมากกว่าในสมัยอยุธยา นิยมปิดทองคำเปลวเพื่อให้ภาพดูสวยงามต่อมาได้มีการผสมผสานกับศิลปะตะวันตก  ทำให้วิธีการวาดภาพ  การใช้สี   มีความหลากหลาย  ภาพที่วาดมีความเหมือนจริงและเป็นแบบ 3 มิติ

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนออนไลน์
รายวิชา ศิลปะ6

Welcome To Learn Art Online By KruNUENG

  • Grey Facebook Icon
  • Grey YouTube Icon
  • Grey Instagram Icon

CRPAO SCHOOL

bottom of page