top of page

ศ21101 ศิลปะ 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วิจิตรศิลป์” (Fine Arts) คือ ภาพวาด ภาพจิตรกรรมฝาผนังงานปั้น หรืองานแกะสลักต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่ผ่านการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดความงาม ความสุนทรีย์ต่อผู้พบเห็น ศิลปะจึงเกิดขึ้นเนื่องจากเรานิยมยินดีที่จะเข้าใกล้สิ่งสวยงาม หรือแม้แต่ของสิ่่งเดียวกันหลายๆชิ้นเราก็มักจะเลือกอันที่สวยงามที่สุดมาเป็นเจ้าของ

ผลงานที่สร้างสรรค์นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวศิลปินเองไม่ได้ทำเพื่อใคร หรือมีใครมาให้โจทย์ที่จะต้องทำตาม ศิลปินจะมีอิสระทางความคิดสูง และสามารถใส่ตัวตนและความรู้สึกลงไปในผลงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะสื่อสารอารมณ์ และบอกเล่าความรู้สึกออกมาเป็น”ภาษาภาพ” ให้คนได้มองและรับรู้ผ่านทางตา

 

การเรียนสาขาทัศนศิลป์จะเน้นหนักในด้านการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเช่นการวาดเส้นระบายสี ปั้น แกะสลัก และทักษะทางความคิดสร้างสรรค์รวมไปถึงกระบวนการในการออกแบบผลงาน ในที่นี้จะขอแบ่งเป็น 4 สาขาตามหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาศตร์ จุฬาฯ

 

1. จิตรกรรม(Painting)

คือผลงานศิลปะต่างๆที่เป็นรูปแบบ 2 มิติโดยใช้กรรมวิธี เช่น การเขียน การวาด หรือการระบายสี ลงบนวัสดุต่างๆ เช่นกระดาษ ผ้า กำแพง ฯลฯ เพื่อให้เกิดความงามและสามารถสื่อสารแนวความคิดอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินออกมาได้ โดยสามารถใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางต่างๆ มาเป็นตัวจัดการกับผลงานให้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น สีน้ำ สีฝุ่น สีน้ำมัน สีอะคริลิก หรือแม้กระทั่งสีสเปรย์

 

 

2. ประติมากรรม(Sculpture)

คือผลงานศิลปะในรูปแบบ 3 มิติ ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการปั้น การประกอบเชื่อมต่อ และการแกะสลัก โดยมีวัสดุหลากหลาย เช่น ดิน ปูน หิน เหล็ก ไม้ ฯลฯ โดยศิลปินผู้สร้างสรรค์มักจะต้องกำหนดแนวความคิด เพื่อตีความหมายออกมา แล้วนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้วัสดุ และกรรมวิธีในการสร้างสรรค์

งานประติมากรรมมีทั้งขนาดเล็กวางตั้งไว้ในบ้าน หรือบนโต๊ะได้ ไปจนกระทั่งขนาดใหญ่อย่างเช่น อนุเสาวรีย์ต่างๆ ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปะที่มีความยากในการสร้างสรรค์มากกว่าสาขาอื่นๆ เพราะผู้สร้างสรรค์จะต้องมีความแม่นยำและเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อมองจากทุกด้านแล้วต้องมีความสวยงามเท่าเทียมกัน ต่างจากจิตรกรรมที่มองให้สวยเพียงด้านเดียวก็เพียงพอ

3. ภาพพิมพ์ (Printmaking)

ส่วนภาพพิมพ์จะเป็นงานศิลปะที่มีขั้นตอนและกระบวนการในการสร้างสรรค์มากที่สุด เหมาะกับคนที่มีสมาธิ และละเอียดอ่อนในการทำงาน เรามักจะเห็นกระบวนการภาพพิมพ์เข้าไปอยู่ในระบบอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก เพราะข้อดีของกระบวกการภาพพิมพ์คือสามารถผลิตผลงานออกมาได้จำนวนมากเช่น โรงพิมพ์หนังสือ โรงสกรีนลายเสื้อ และอื่นๆ โดยภาพพิมพ์นั้นประกอบด้วยตัวแม่พิมพ์ เช่น ตัวปั้ม ตัวอักษรในเครื่องพิมพ์ดีดแบบโบราณหรือ ผ้าไหม เหล็ก หมึกพิมพ์ ก็จะมีหลายแบบ เช่น เป็นกระป๋อง เป็นตลับ หรือเป็นแถบผ้าหมึก และวัสดุที่จะรองรับการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า พลาสติก โลหะและอีกมากมาย โดยจะแบ่งกรรมวิธีออกเป็น 4 รูปแบบคือ

 

1.ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) จะใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการแกะสลักแผ่นไม้ ให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ แล้วจึงใช้หมึกทาลงบนแผ่นไม้ และนำมาประกบลงบนกระดาษหรือผ้า เพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ได้สร้างสรรค์ไว้ อาจมีแม่พิมพ์หลายชิ้น แม่พิมพ์ 1 ชิ้นต่อ 1 สี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีสีสันหลากหลาย

2.ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silksreen) ยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน

3.ภาพพิมพ์หิน (Lithogrephy) เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่ายจะใช้การยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน

4.ภาพพิมพ์โลหะ (Etching) เป็นกระบวนการพิมพ์แบบร่องลึกนั่นคือการทำให้ผืนผิวของแม่พิมพ์ซึ่งเป็นทองแดง เกิดเป็นร่องลึกเข้าไปเพื่อจะได้นำสีหมึกอัดเข้าไปในร่อง แล้วนำเข้าเครื่องพิมพ์ เพื่อกดสีที่อยู่ตามร่องให้ออกมาติดบนกระดาษ เทคนิคนี้ส่วนใหญ่จะได้ภาพที่ละเอียด เห็นลายเส้นคมชัด ตัวอย่างเช่น ธนบัตร ตราสัญลักษณ์องค์กร และอื่นๆ

4. สื่อผสม หรือ สื่อใหม่ (New Media)

จะเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างหนักไปทางใช้ความคิดเพื่อสื่อสาร แนวความคิด (Conceptual art) ของศิลปินให้ออกมาเป็นภาพ หรือ การแสดง อาจเป็นได้ทั้งภาพนิ่ง (Photo art) หรือ ภาพเคลื่อนไหว (VDO art) และการแสดง (Performance) หรือแม่กระทั้งสร้างขึ้นมาเองจากคอมพิวเตอร์ (Digital art /animation) ภาพและการแสดงที่ออกมาบางครั้งอาจไม่สวยงามเหมือนทั่วๆไป แต่จะสามารถสะเทือนอารมณ์ และทำให้ผู้ชมตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่ศิลปินพยายามสื่อสารออกมาได้

         ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ทัศนะของแต่ละคน
แต่ละสมัยที่จะกำหนดแนวความคิดของศิลปะให้แตกกต่างกันออกไป   หรือแล้วแต่ว่าจะมีใครนำคำว่า "ศิลปะ" นี้ไปใช้ในแวดวงที่กว้างหรือจำกัดอย่างไรศิลปะ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
         ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ได้ให้ความหมายของศิลปะ ไว้ว่า ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพราะฉะนั้น ต้นไม้ ภูเขา ทะเล น้ำตก  ความงดงามต่าง  ๆ
ตามธรรมชาติจึงไม่เป็นศิลปะ  ดอกไม้ที่เห็นว่าสวยสดงดงามนักหนาก็ไม่ได้เป็นศิลปะเลย ถ้าหากเรายึดถือตามความหมายนี้แล้วสิ่งที่มนุษย์สร้างสร้างขึ้นทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด  ภาพพิมพ์  งานปั้น  งานแกะสลัก    เสื้อผ้าอาภรณ์    เครื่องประดับ ที่อยู่อาศัย  ยานพาหนะ  เครื่องใช้สอย  ตลอดจนถึงอาวุธที่ใช้รบราฆ่าฟันกัน ก็ล้วนแต่เป็นศิลปะ ทั้งสิ้นไม่ว่ามนุษย์สร้างสิ่งที่ดีงามเลิศหรูอลังการหรือน่าเกลียดน่าชังอย่างไรก็ตามล้วนแต่เป็นงานศิลปะอย่างนั้นหรือไม่ 

 

ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์
          ในสมัยต่อมา มีผู้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะเป็นผลงานการสร้างสรรค์  ซึ่งในความหมาย
นี้ เราต้องมาตีความหมายของคำว่า "การสร้างสรรค์" กันเสียก่อนการสร้างสรรค์ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่านั้นคือการทำให้เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา ซึ่งบางสิ่งบางอย่างนั้นไม่เคยมีอยู่มาก่อน ทั้งที่เป็นผลิตผลหรือกระบวนการหรือความคิดดังนั้นสิ่งที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ได้จะต้องเป็นประดิษฐ์กรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกหรือเป็นกระบวนการใหม่ ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำการบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จหรือเป็นการสร้างแนวคิดใหม่
ที่จะนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ เพราะแนวคิดใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ หรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาในโลกและตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ได้เพื่อแทนที่ผลผลิตหรือประดิษฐ์กรรมเดิม ที่ตอบสนองได้ไม่พอเพียงหรือไม่เป็นที่พอใจ การสร้างสรรค์ในอีกความหมายหนึ่งจึงเกิดขึ้น คือ เป็นการทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีหลาย ๆ วิธี โดยอาจเป็นการปรับปรุงกระบวนการใหม่ ให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม หรือเป็นการปรับปรุงรูปแบบผลผลิตใหม่โดยใช้วิธีการเดิม แต่ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม เป็นการกระทำให้เกิดขึ้นจากการใช้แนวคิดแบบใหม่ ๆ ทั้งสิ้น และเป็นผลของวิธีการคิดที่เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์"

         ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพ
แวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่เกี่ยวข้องกับงาน
ศิลปะอย่างแยกกันไม่ออกหรืออาจกล่าวได้ว่าศิลปะเป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์
    ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าศิลปะเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่มี
ความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถสร้างงานศิลปะได้จากตอนต้นที่กล่าวว่าศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น แสดงว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างงานศิลปะได้แต่นอกเหนือจากมนุษย์แล้วจะยังมีสิ่งอื่นๆ อีกหรือไม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์จากประวัติศาสตร์ของมนุษย์และการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เราจะพบว่าสัตว์โลกหลาย ๆชนิดมีความคิด รู้จักความรักและมีสัญชาตญาณแต่สิ่งเหล่านั้นจะจัดเป็นความคิดสร้างสรรค์หรือไม่สัตว์ทั้งหลายสามารถสร้างหรือกระทำสิ่งใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการได้ดีกว่าเดิมหรือไม่รู้จักพัฒนาแนวคิดกระบวนการและผลผลิตให้ดีกว่าเดิมหรือไม่ ? 
            
            หากเราจะเปรียบเทียบย้อนหลังไปเมื่อหลายหมื่นแสนปีก่อนหน้านี้ เมื่อมนุษย์ยังอยู่ในถ้ำยังไม่สรวมเสื้อผ้า เก็บผลไม้กินหรือไล่จับสัตว์กินเป็นอาหารซึ่งมีชีวิตไม่ต่างจากสัตว์ทั้งหลายในทุกวันนี้แต่ปัจจุบัน มนุษย์มีบ้านอยู่สบายมีเครื่องแต่งกายสวยงามมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายสามารถไปได้ทั้งบนน้ำในน้ำในอากาศและอวกาศมีเมืองมีระบบสังคมมีระเบียบปฏิบัติร่วมกันมีกระบวนการพัฒนามนุษย์ที่จะสืบทอดดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปมีจริยศาสตร์มีศาสนาและพิธีกรรมมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันอย่างหลาหลายกระจายไปทั่วโลกขณะที่สัตว์โลกอื่น ๆยังคงดำรงชีวิตอยู่เดิมๆที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากข้อแตกต่างนี้บางทีอาจเป็นสิ่งพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เพียงหนึ่งเดียวบนโลกนี้ดังนั้นศิลปะจึงเป็นเรื่องของมนุษย์สร้างขึ้นโดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์เท่านั้น
 
     จากข้อความข้างต้นที่กล่าวมาเราอาจสรุปได้ว่าศิลปะเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์
ซึ่งในความหมายเช่นนี้แสดงว่าสิ่งต่าง ๆที่มนุษย์คิดค้นกระทำขึ้นมาทั้งที่เป็นการกระทำใหม่ ๆ
หรือเป็นการกระทำสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นกว่าเดิมล้วนแต่เป็นงานศิลปะทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือไม่ ? ถ้าเป็น
อย่างนั้นแนวคิดใหม่ ๆ วิธีการใหม่ ๆประดิษฐ์กรรมใหม่ๆความเชื่อใหม่ ๆ  ศาสนาใหม่ ๆ ตลอด
จนถึงการดำรงชีวิตแบบใหม่อาวุธใหม่ ๆการสร้างความหายนะให้กับผู้อื่นด้วยวิธีการใหม่ ๆ ก็เป็น
ศิลปะอย่างนั้นหรือ ? การทำลายล้างด้วยอาวุธใหม่ ๆรวดเร็วรุนแรงสร้างความเสียหายใหญ่หลวง


    ศิลปะคือความงาม
เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงาม แต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า ที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะแตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุแต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจความงามเกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผลความคิดหรือข้อเท็จจริงคนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือเพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงามคนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหวจะสัมผัสความงามได้ง่ายและรับได้มากความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผลความยินดีนั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับความงามนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุก็จริงแต่มิได้เริ่มที่วัตถุมันเริ่มที่อารมณ์ของคน ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์เป็นสุขารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุน เป็น1 ใน3  สิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่ความดีความงามและความจริงผู้ที่ยอมรับและเห็นในคุณค่าของทั้งสามสิ่งนี้จะเป็นผู้มีความสุขเนื่องจากความงามเป็นอารมณ์เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดความงามจึงเป็นนามธรรม  ดังนั้นการสร้างสรรค์งานศิลปะก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่านสื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมาเพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัสได้พบเห็นได้รับรู้สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคลความงามไม่ใช่ศิลปะ เนื่องจากว่าความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น  บรรยากาศขณะที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือตกดินความสวยงามสดชื่นของดอกไม้ ทิวทัศน์ธรรมชาติต่างๆเป็นต้น

      งานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรกและจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไปความงามในงาน
 ศิลปะออกเป็น 2 ประเภท คือ
     1   ความงามทางกาย  หรือเกิดจากการประสานกลมกลืนกัน
         ของทัศนธาตุ เป็นผลจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ
     2  ความงามทางใจ  ได้แก่ ความรู้สึก หรืออารมณ์ที่แสดงออกมาจากงานศิลปะหรือที่ผู้ชมสัมผัสได้จากงานศิลปะนั้น ๆในงานศิลปะชิ้นหนึ่ง ๆ มีความงามทั้ง 2 ประเภทอยู่ร่วมกัน แต่อาจแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของงานเจตนาของผู้สร้างและการรับรู้ของผู้ชมด้วย  
     
       ความงามในศิลปะเป็นการสร้างสรรค์ล้วนๆไม่เกี่ยวข้องกับความงามวัตถุในธรรมชาติเป็นความงามที่แสดงออกได้แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด  หัวข้อ เรื่องราว   รือเนื้อหาที่ใช้สร้างงานนั้นอาจน่าเกลียด   แต่เมื่อเสร็จแล้วก็ยังปรากฎความงามที่เกิดจากอารมณ์ที่ศิลปินแสดงออก ดังนั้น ความงามจึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงาน
       ศิลปะ ซึ่งเรียกว่า  "สุนทรียศาสตร์"  มีข้อความที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยเรอเนซองค์จนถึงทุกวันนี้ว่า
"ศิลปะมิได้จำลองความงาม  แต่สร้างความงามขึ้น" 

สื่อวิดีโอจาก youtube

bottom of page